Introduction to Law : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมายทั่วไป #2
Introduction to Law #2 : กฏหมายแพ่ง
- บุคคล
– บุคคล หมายถึงสิ่งซึ่งสามารมีสิทธิ และหน้าที่ได้ตามกฏหมายในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
– ประเภทของบุคคล -> บุคคลธรรมดา , นิติบุคคล
– การเริ่มสภาพบุคคล -> เริ่มต้นแต่เมื่อคลอดแล้วรอดอยู่เป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย
– การสาบสูญ -> หายไปเกิน 5 ปี หรือเกิน 2 ปี เมื่อเกิดสงคราม,ยานพาหนะอับปาง
– ความสามารถของบุคคล
1. ผู้เยาว์
– ผู้เยาว์ คือผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีขึ้นไป, สมรมอายุ 17 ปี)
– การทำนิติกรรม -> ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ถ้าฝ่าฝืนจะเป็น โมฆียะ
– สิ่งที่ผู้เยาว์ทำได้เอง -> การได้มาซึ่งสิทธิโดยไม่มีภาระผู้พัน เช่นการให้ของด้วยสเน่หา, เรื่องเฉพาะตัว (การรับรองบุตรโดยนิตินัย), เรื่องจำเป็นในการดำรงชีวิต(ซื้อของกิน), ทำพินัยกรรมเมื่ออายุครบ 15 ปี
2. บุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งถูกจำกัดความสามารถเพราะสภาพแห่งจิต
– ผู้อนุบาลดูแล และทำนิติกรรมแทน
– ถ้าบุคคลไร้ความสามารภทำนิติกรรมจะเป็น โมฆียะ (โมฆียะคือสิ่งที่ทำไปแล้วยังสมบูรณ์อยู่ จนกว่าจะมีการบอกล้าง โดยคนที่บอกล้างได้ต้องเป็นคนที่กฏหมายกำหนดไว้)
3. บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งถูกจำกัดความสามารถเพราะความพิการหรือความประพฤติบางอย่าง
– สามารถทำนิติกรรมบางอย่างได้
– นิติกรรมบางอย่างต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ ซึ่งนิติกรรมเหล่านั้นเป็นนิติกรรมที่ทำให้เสียประโยชน์ และเสียหาย เช่นการจำนอง การให้ การกู้ การเช่าอสังการิมทรัพย์ การค้ำประกัน
- ทรัพย์
– ทรัพย์ หมายความว่าวัตถุที่มีรูปร่าง
– ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้
– ประเภทของทรัพย์
1. อสังหาริมทรัพย์ -> ที่ดิน ตึกรามบ้านช่อง ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินเป็นการถาวร
2. สังหาริมทรัพย์ -> ทรัพย์ทั่วไป, ทรัพย์อื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์
3. ทรัพย์แบ่งได้- แบ่งไม่ได้
4. ทรัพย์บอกพาณิชย์ -> ทรัพย์ที่ห้ามซื้อขาย ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ ได้แก่ ที่วัด อาวุธ
– ส่วนควบเครื่องอุปกรณ์และดอกผล
1. ส่วนควบ -> ส่วนที่ติดอยู่กับทรัพย์นั้น เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน เช่น ล้อรถกับรถ
2. ส่วนอุปกรณ์ -> ส่วนที่ไม่จำเป็นต้องมี แต่ติดเพื่อประโยชน์ใช้สอย
3. ส่วนดอกผล -> ผลจากธรรมชาติ ลูกของสัตว์ ดอกเบี้ย กำไร
- ทรัพย์สินทางปัญญา
1. ลิขสิทธิ์
– ลิขสิทธิ์ คือ สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์งานที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานของตน
– ตัวอย่างเช่น งานวรรณกรรม, นาฏกรรม, ศิลปกรรม, ดนตรี, ภาพยนต์,โปรแกรมคอมพิวเตอร์
– ไม่ต้องจดทะเบียน จะคุ้มครองโดยอัตโนมัติ
– การคุ้มครอง -> ทั่วไป : คุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์และ 50 ปี หลังจากผู้สร้างสรรค์ตาย แต่ถ้าเป็นงานที่สร้างขึ้นโดยนิติบุคคลหรือมีการโฆษณาจะคุ้มครอง 50 ปีนับจากวันที่มีการโฆษณา
2. สิทธิบัตร
– สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะตามกฏหมายกำหนด
– ประเภทของสิทธิบัตร
1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ -> ลักษณะที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่, มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น, สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทางอุตสาหกรรม
2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ -> ต้องเป็นการออกแบบใหม่เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม
3. อนุสิทธิบัตร
– อายุของสิทธิบัตร -> สิทธิบัตรการประดิษฐ์ 20 ปีนับจากวันขอ, สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 10 ปีนับจากวันขอ
3. เครื่องหมายการค้า
– เครื่องหมายการค้า คือ เครื่องหมายที่ใช้กับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นของผู้ใด โดยมีอายุ 10 ปีและอาจจะต่ออายุได้เป็นคราวๆละ 10 ปี
– ลักษณะที่จดทะเบียนได้ -> ต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ, ไม่มีลักษณะต้องห้ามทางกฏหมาย, ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่น
- สัญญาซื้อขาย
– สัญญาซื้อขาย คือ สัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อจะต้องชำระเงินให้กับขาย (ต้องเป็นเงินเท่านั้น ถ้าเป็นสิ่งของจะเป็นสัญญาแลกเปลี่ยน)
– ประเภทของสัญญาซื้อขาย
1. สัญญาซื้อขายเด็ดขาด
– กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้นย่อมโอนไปทันทีขณะที่ทำสัญญา ถึงแม้จะไม่มีการส่งมอบหรือว่าชำระราคา
2. สัญญาจะซื้อจะขาย
– กรรมสิทธ์ในทรัพย์สินยังไม่โอน เนื่องจากติดขั้นตอนของระเบียบในเรื่องของตัวทรัพย์เช่น การจดทะเบียน การโอนกรรมสิทธิ์
– ทำเพื่อให้เกิดความผูกพัน ว่าต่อไปจะมาทำสัญญาซื้อขายเด็ดขาด ซึ่งถ้าต่อมาไม่มาทำสัญญาซื้อขายเด็ดขาดก็สามารถฟ้องร้องได้
– แบบ : เป็นสิ่งที่กฏหมายเคร่งครัดมากในการทำผิดสัญญาซื้อขาย
1. สัญญาซื้อขายเด็ดขาดในการซื้อ อสังหาริมทรัพย์, สังหาริมทรัพย์พิเศษ (สัตว์พาหนะ, เรือที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป, แพ) : ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าไม่ทำตามแบบจะเป็นโมฆะ
2. สัญญาจะซื้อจะขายในการซื้อ อสังหาริมทรัพย์, สังหาริมทรัพย์พิเศษ, สังหาริมทรัพย์ 20000 บาทขึ้นไป : ต้องมีหลักฐานอันนึงอันใดในการฟ้องร้อง ลงลายมือชื่อฝ่ายผู้รับผิดเป็นสำคัญ, ไว้วางประจำได้, ได้ชำระหนี้บ้างส่วนแล้ว
- สัญญาแลกเปลี่ยน
– สัญญาแลกเปลี่ยน เหมือนกับสัญญาซื้อขาย แต่ต่างที่ว่าสิ่งที่มาชำระเป็นทรัพย์สิน ไม่ใช่เงิน
– นำแบบของสัญญาซื้อขายมาให้
สัญญาให้
– สัญญาให้ เป็นสัญญาซึ่งผู้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง
– มีการโอนกรรมสิทธิ์ และเป็นสัญญาไม่มีค่าตอบแทน
– สามารถถอนคืนการให้ได้เมื่อ ผู้รับกระทำเนรคุณต่อผู้ให้ โดยทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
1. ประทุษร้ายผู้ให้เป็นความผิดทางอาญาอย่างร้ายแรง เช่น ทำร้ายร่างกาย, ฆ่า
2. ผู้รับทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือทำการหมิ่นประมาท
3. ผู้รับบอกปัดไม่ให้สิ่งจำเป็นเลี้ยงชีพแก่ผู้ให้
– ถอนคือการให้ไม่ได้ถึงแม้จะเนรคุณเมื่อ
1. ให้บำเหน็จสินจ้าง
2. ให้ที่มีค่าภาระติดพัน เช่น ต้องไปเสียภาษีที่ดิน
3. ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา เช่น ระหว่างบิดาและบุตร
4. ให้ในการสมรส
- สัญญายืม
– แบ่งประเภทของสัญญายืมออกได้เป็น
1. สัญญายืมใช้คงรูป
– ผู้ยืมได้ใช้ทรัพย์สินโดยไม่มีค่าตอบแทน
– ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ไม่ว่าจะยืมนานเท่าใดก็ตาม
– ใช้เสร็จต้องคืนในสภาพเดิม
– สัญญาสมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สิน ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือใดๆทั้งสิ้น
2. สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
– ผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
– ทรัพย์เป็นชนิดให้ไปสิ้นไป ไม่สามารถเอาตัวเดิมมาคืนได้
– ผู้ยืมต้องคืนทรัพย์อันใหม่ที่มี ชนิด, ปริมาณ, คุณภาพ เหมือนทรัพย์เดิม
– สัญญาสมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สิน เช่น สัญญากู้ยืมเงิน
– จะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้ โดยอาจจะให้ค่าตอบแทนเป็นดอกเบี้ย
– ดอกเบี้ยห้ามเกินร้อยละ 15 ต่อปี ถ้าเกินตัวสัญญาจะสมบูรณ์ แต่ดอกเบี้ยจะเป็นโมฆะ
– ถ้ากู้ยืมมากกว่า 2000 บาทต้องมีหนังสือถึงจะฟ้องร้องได้
- สัญญาประกันด้วยบุคคลและทรัพย์สิน
– เป็นสัญญาอุปกรณ์ เนื่องจากเกิดขึ้นเองไม่ได้ต้องมีสัญญาหลักก่อน
1. สัญญาค้ำประกัน
– บุคคลภายนอกผูกพันต่อเจ้าหนี้ในการชำระหนี้แทนลูกหนี้
– ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์ไล่เบี้ยลูกหนี้
2. สัญญาจำนอง
– ทรัพย์สินเป็น อสังหา, สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ,ทรัพย์ที่มีการจดทะเบียนพิเศษตามกฏหมาย เช่น เครื่องบิน
– เอาทรัพย์สินไปจดทะเบียนเพื่อประกันชำระหนี้
– ไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน
– ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของทรัพย์
– กรรมสิทธิ์ไม่โอนไปจนหว่าจะบังคับจำนอง
– การบังคับจำนองต้องฟ้องร้องต่อศาลเท่านั้น โดยฟ้องศาลเพื่อให้ ขายทอดตลาด, เอากรรมสิทธิ์
3. สัญญาจำนำ
– ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้รับจำนำ
– ทรัพย์ทีจำนำต้องเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น
– ผู้รับจำนำจะยึดหน่วงทรัพย์ไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้
– บังคับจำนำโดยขายทอดตลาดเอง
– ถ้าขายได้เงินไม่ครบ สามารถเรียกส่วนขาดได้
- สัญญาประกันภัย
– หลักสำคัญ
1. หลักส่วนได้ส่วนเสีย
2. หลักความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่ง : คู่สัญญาจะต้องมีความซื่อสัตย์ในการบอกความจริงต่างๆ เกี่ยวกับตน
3. เป็นสัญญาเสี่ยงโชค เสียงภัย
4. เป็นสัญญาต่างตอบแทน จะมีบุคคลภายนอกมาเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ได้
– บุคคลที่เกี่ยวข้องในสัญญาประกันภัย : ผู้เอาประกัน, ผู้รับประกันภัย, ผู้รับประโยชน์
– หลักการเปิดเผยความจริง : ถ้ารู้ความจริงแล้วต้องเปิดเผย โดย ผู้เอาประกัน และ ผู้ถูกเอาประกัน ต้องเป็นผู้เปิดเผยถ้าไม่เปิดเฉยจะมีผลให้สัญญาเป็นโมฆียะ
– หลักในเรื่องเปิดเผย
1. เปิดเผยข้อความจริงที่เกี่ยวกับวัตถุที่เอาประกัน (ข้อสาระสำคัญ)
2. รู้แล้วต้องบอก ถ้าไม่รู้ ไม่บอก ไม่ผิด
3. ระยะเวลา ต้องเปิดเผยก่อนเวลาทำสัญญาจนถึงขณะที่ทำสัญญา
4. ผล = ถ้าไม่บอกตามความจริงจะมีผลให้สัญญาเป็นโมฆียะ, บริษัทบอกล้างได้สัญญาจะเป็นโมฆะ
– หลักการจ่ายค่าสินไหมทดแทน
1. จ่ายตามความเสียหายจริง ไม่เกินจำนวนเงินที่เอาประกัน
2. ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เสียไป เพราะรักษาทรัพย์ไม่ให้วินาศ
– วัตถุเดียวกันประกันไว้หลายราย
1. ทำประกันพร้อมกัน (ภายในวันเดียวกัน) – > ผู้รับประกันแต่ละรายใช้ตามส่วนมากนั้นเท่าที่ตนรับประกันไว้
2. ทำไม่พร้อมกัน – > ผู้รับประกันรายแรกรับผิดชอบก่อน ถ้ายังไม่คุ้ม ผู้รับประกันรายถัดไปรับส่วนที่เหลือ
– ผู้รับประกันไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย
1. ประกันวินาศภัย
– ผู้เอาประกันทุจริตทำให้เกิดวินาศภัย เช่น วางเพลิงเอาเงินประกัน
– ผู้เอาประกัน หรือ ผู้รับประโยชน์ ทำให้เกิดวินาศภัยโดยประมาท
– วัตถุที่เอาประกันไม่สมประกอบ
2. ประกันชีวิต
– ผู้เอาประกัน หรือ ผู้ถูกเอาประกัน ฆ่าตัวตายภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญา
– ผู้รับประโยชน์ ฆ่าผู้เอาประกันโดยเจตนา
- ละเมิด
– ละเมิด คือ กระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฏหมายให้เขาเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิ์
– ความรับผิดชอบในการกระทำของบุคคลอื่น : นายจ้าง – ลูกจ้าง, ตัวการ – คนกลาง, ผู้ว่าจ้าง – ผู้รับจ้าง, ครูอาจารย์ – นักเรียน, บิดา มารดา – บุตร
– ความรับผิดชอบในความเสียหายอันเกิดจากสัตว์ : เจ้าของ หรือผู้รับเลี้ยงดูแลแทนต้องรับผิดชอบ
– ความเสียหายจากโรงเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้าง : ผู้ครอบครองรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทน
– ค่าสินไหม
1. ค่าทำศพ
2. ค่ารักษาพยาบาล
3. ค่าขาดไร้อุปการะ
4. ค่าขาดแรงงาน
5. ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้
6. ราคาทรัพย์สิน , ค่าซ่อม, ค่าเสื่อมราคา
Leave a comment