ไปรับรางวัลเจ้าฟ้าไอที & เข้าชม KU Innovation Award 2009

  • ไปรับรางวัลเจ้าฟ้าไอที

FRIT_prize2.jpg

หลังจากที่ได้รับการบอกจากหัวหน้าทีมของเรา ที่พยายามส่งเมล์รายละเอียดมาให้แล้วแต่ทำไมออฟไม่ได้ก็ไม่รู้ ก็ถึงวันที่จะไปรับรางวัลกันซะที งานนี้ต้องบอกว่าไปพรีเซนต์หลายรอบมากๆ เช่น

ผ่านการคัดเลือกรอบแรกของเจ้าฟ้าไอทีแล้วค่า

Present เจ้าฟ้าไอทีรอบสอง -> เข้ารอบ 5 ทีมสุดท้ายแล้วค่า

รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา   ผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการพิจารณามอบเกียรติบัตรผู้ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา พร้อมเงินรางวัล 10,000.- บาท

กว่าจะไปถึงก็แอบเลยเวลานัดไปนิดหน่อยรู้สึกผิดอยู่เหมือนกัน พอไปถึงกำลังแลกบัตรพี่เค้าก็โทรมาเลย ก็กะว่าไปรับแล้วก็กลับเลย แต่พี่เค้าบอกว่าให้ไปนั่งรอก่อนแล้วเค้าจะไปเรียนเชิญท่านประธานกรรมการ มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ (นายจรัมพร โชติกเสถียร) มามอบรางวัล คราวนี้ก็มองหน้ากันเลิกลั่กเลยทีเดียวอ่ะ เพราะว่าน้องแก่งของเราแต่งเสื้อโปโล กางเกงยีน แถมด้วยรองเท้าแตะ แถมฝนก็ไม่ได้มาด้วย มีออฟใส่่ชุดนิสิตอยู่คนเดียว เพราะว่าต้องไปฝึกงานกับอาจารย์พันอยู่ เกือบได้ออกไปรับคนเดียวแล้ว แต่ก็ลากน้องแก่งออกมาถ่ายรูปด้วยกันได้

FRIT_prize.jpg

  • เข้าชม KU Innovation Award 2009

หลังจากหลังกลับมาจากรับรางวัลรองเท้าเจ้ากรรมก็มาทรยศซะงั้น เท้าเจ็บมากๆ แถมเจ้าเพื่อนตัวดียังบอกว่าแค่ป้ายเดียวเองเดินไปเหอะก็เลยได้เดินแถมด้วยรองเท้าคู่ใหม่เลยอ่ะ แล้วหลังกินข้าวเที่ยงที่ร้านเจ๊อ้วนแล้ว ก็ไปที่งานการประกวดนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2552 KU INNOVATION AWARDS 2009 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน.

KU_Innovation_Award_2009_1.jpg

งานนี้ออฟไปเป็นพรีตี้ของบูธอาจารย์พัน ซึ่งอาจารย์ส่งประกวดในหัวข้อ “Research Skill Develop Method : Constructive Analysis and Criticisms” หรือชื่อภาษาไทย “กระบวณการพัฒนาทักษะการวิจัย : การวิเคราะห์และวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์” โดยส่งห้วข้อประกวดนี้ในสาขาศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์

รายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อของอาจารย์จะเน้นไปที่กระบวณการที่จะทำให้เกิดการวิเคราะห์และวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งปัจจุบันในการพรีเซนต์โครงงานนั้น เจ้าของโครงการจะได้รับการวิจารณ์จากอาจารย์ที่เป็นผู้ประเมิณงานเท่านั้น แต่เพื่อนๆจะไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมในการวิจารณ์ผลงานมากนัก ซึ่งทำให้ไม่ได้พัฒนาทักษะในการคิดและวิเคราะห์ อาจารย์จึงได้มีการสร้างระบบเป็นเวบไซต์ที่ให้ผู้ฟังได้มีโอกาสมาวิจารณ์ได้ โดยที่เจ้าของกับผู้มาวิจารณ์จะไม่เสียความรู้สึกต่อกันเนื่องจากว่า เจ้าของจะไม่รู้ว่าคำวิจารณ์นั้นเป็นของใคร รวมไปถึงอาจารย์จะมีการมาประเมิณคำวิจารณ์ด้วยทำให้ต้องมีการคิดและวิเคราะห์รวมไปถึงตั้งใจฟังผลงานของเพื่อนมากยิ่งขึ้น

Leave a comment