Introduction to Law :ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมายทั่วไป #1
Introduction to Law#1
- ความสำคัญของกฎหมาย
– ข้อสันนิษฐาน – > ทุกคนต้องรู้กฏหมาย โดยจะกล่าวได้ว่า “บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฏหมายเพื่อให้พ้นความรับผิดไม่ได้” ซึ่งเป็นหลักกฏหมายอาญามาตรา 64
– สภาพความผิด
1. ความผิดในตัวเอง (Mala in Se) : ความผิดร้ายแรงแก้ตัวไม่ได้ เช่น ฆ่าคน ลักทรัพย์ ข่มขืน วางเพลิง กบฏ
2. ความที่กฏหมายห้ามกระทำ (Mala Prohibit) : เป็นความผิดเฉพาะเรื่อง เฉพาะกรณี เช่น ห้ามขับรถจักรยานยนต์โดยไม่ใส่หมวก
– หลักของ The Rule of Law : ผู้บริหารประเทศต้องดำเนินการปกครองโดยอาศัยบทกฏหมายที่บัญญัติให้อำนาจไว้เท่านั้น
– กฏหมายเป็นเครื่องมือของรัฐในการบริหารประเทศ
– ลักษณะของอำนาจอธิปไตย : เด็ดขาด, ถาวร, ใช้ได้ทั่วไป, แบ่งแยกไม่ได้
– องค์ประกอบของรัฐ : ราษฏร, อาณาเขต, อำนาจอธิปไตย
– มนุษย์ได้อยู่ร่วมกันโดยอาศัยเหตุผล ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ปฏิบัติต่อกันจนเกิดเป็นนิสัยแล้วปฏิบัติสืบต่อกันเป็นเวลานาน ด้วยความยอมรับโดยทั่วไป กลายเป็นธรรมเนียบ และจารีตประเพณี และมีคนกลางเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นผู้มีอำนาจชี้ขาดตัดสินคดี ต่อมาได้มีการบัญญัติกฏหมายขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้แน่นอนชัดเจน (Enacted Law)
– Social Contract (สัญญาประชาคม) : กฏหมายเกิดขึ้นเพราะสัญญาประชาคมที่มอบอำนาจหน้าที่ให้แก่รัฐเป็นผู้ปกครองและรักษาความเรียบร้อยของสังคม โดยกฏหมายจะต้องเคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์รวมทั้งทรัพย์สิน โดยรัฐจะละเมิดได้
– General Will (เจตนารมณ์ทั่วไป) : เจตนารมณ์ร่วมกันและเป็นเครื่องแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและความต้องการของสังคมส่วนรวม ดังนั้นการสละเสรีภาพตามธรรมชาติอันไม่มีจำกัด และยอมอยู่ร่วมกันโดยมีเสรีภาพจำกัดตามกฏหมายก็คือการยอมรับปฏิบัติตาม General Will
– Separation of power and Balance of power : หลักการถ่วงดุลอำนาจรัฐ โดยต้องเป็นอิสระซึ่งกันและกัน ในการปกครองประเทศแบ่งอำนาจออกได้เป็น อำนาจนิติบัญญัติ, อำนาจบริหาร, อำนาจตุลาการ
- องค์ประกอบของการเป็นกฏหมาย
1. ต้องมาจากรัฐธาธิปัตย์ -> รัฐ คือผู้มีอำนาจในการออกกฏหมาย ไม่ว่าจะออกมาจากคณะปฏิวัติก็ตาม
2. ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป -> ไม่ใช่เพียงกลุ่มคน
3. ต้องใช้เสมอไป -> จะไม่มีการใช้ก็ต่อเมื่อกฏหมายมีการยกเลิกเท่านั้น
4. ทุกคนต้องปฏิบัติตาม
5. มีสภาพบังคับ โทษทางอาญา = ประหาร จำคุก กักขัง ปรับ ริบ, โทษทางแพ่ง = ชำระหนี้, เสียค่าตอบแทน, เบี้ยปรับ
- กฏหมายที่ดีต้องสอดคล้องกับกฏเกณฑ์ทางสังคม โดยต้องไม่ขัดแย้งกับ ศาสนา ศีลธรรม และประเพณี
- ที่มาของกฏหมาย
1. รัฐธาธิปัตย์
2. หลักคำสอนของศาสนา
3. ศีลธรรม
4. จารีตประเพณี
5. ความยุติธรรม
6. ความเห็นของนักนิติศาสตร์
7. คำพิพากษาของศาล
- สิทธิ
– สิทธิ คือ อำนาจหรือประโยชน์ที่กฏหมายรองรับและคุ้มครองให้
– กรรมสิทธิในทรัพย์
1. สิทธิใช้สอย
2. สิทธิจำหน่าย
3. สิทธิได้ดอกผล
4. สิทธิตามเอาคืน
5. สิทธิขัดขวาง
– องค์ประกอบแห่งสิทธิ
1. ผู้ทรงสิทธิ -> ต้องเป็นบุคคลเท่านั้น คือต้องมีสภาพความเป็นคน คือคลอดออกมาแล้ว และไม่ถึงแก่ความตาย
2. เนื้อหาแห่งสิทธิ -> เกี่ยวกับทำยังไงให้ได้สิทธิมา ทำยังไงให้เสียสิทธิ เป็นเรื่องของการกระทำ หรืองดเว้นการกระทำ
3. วัตถุแห่งสิทธิ
§ บุคคลสิทธิ -> สิทธิเรียกร้องเฉพาะตัว เช่นเจ้าหนี้-ลูกหนี้
§ ทรัพยสิทธิ -> สิทธิที่ตกอยู่กับตัวทรัพย์ สามารถอ้างยันได้กับบุคคลทั่วไป
- การใช้ – ตีความกฏหมาย
– ขอบเขตของการใช้กฏหมายคือใช้ภายใต้ราชอาณาจักร แต่ใช้กับทุกคนที่มาอยู่ภายใต้ราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นสัญชาติใดก็ตาม ยกเว้นบุคคลบางประเภทที่มีข้อตกลงหรือกฏหมายพิเศษโดยเฉพาะเรื่องระหว่างประเทศ เช่น ทูต บริวารของทูต เจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศ ประมุขของต่างประเทศ ซึ่งจะมีหลักการคุ้มกันทางการทูตอยู่
– ถ้าใช้แล้วกฏหมายมีปัญหา(มีความคลุมเครือ หรือสามารถตีความได้สองแนว) ต้องตีความ โดยต้องตีความตามหลัก
1. กฏหมายอาญา -> จะต้องตีความเคร่งครัดตามตัวอักษร จะตีความขยายความเป็นโทษกับเค้าไม่ได้ กฎหมายว่ายังไงว่าอย่างนั้น เป็นคุณยกประโยชน์ให้ เป็นโทษนี่ทำไม่ได้
2. กฏหมายแพ่ง -> จะตีความตามลำดับดังนี้ โดยต้องตีความตามตัวอักษรก่อน ถ้าตีความตามตัวอักษรแล้วยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง ให้ตีความตามเจตนารมณ์
- ศักด์ของกฏหมาย
– ทำไมต้องมีการจัดลำดับศักดิ์ของกฏหมาย -> เพราะว่ากฏหมายแต่ละลำดับนั้นมีชั้นไม่เท่ากัน คือ มีชั้นสูง , ต่ำ
– การดูว่ากฏหมายนั้นเป็นชั้นสูงหรือต่ำ -> ดูว่ากฏหมายนั้นออกโดยอาศัยอำนาจของอะไร
– ลำดับศักดิ์ของกฏหมาย
1. กฏหมายรัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติ, พระราชกำหนด, ประมวลกฏหมาย
3. พระราชกฤษฎีกา
4. กฎกระทรวง -> ออกตามความใจพระราชบัญญัติ ดังนั้น จะขัดต่อกฎหมายที่มีลำดับสูงกว่าไม่ได้
5. เทศบัญญัติ
6. ข้อบังคับ, ระเบียบ, คำสั่ง, ประกาศส่วนราชการ
- ระบบกฏหมาย
1. ระบบประมวลกฏหมาย (Civil Law)
– มีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร
– เริ่มตั้งแต่กฏหมาย 12 โต๊ะ
2. ระบบจารีตประเพณี
– ถือเอาหลักธรรมเนียมปฏิบัติที่ทำมายาวนานจนทุกคนยอมรับมาเป็นจารีต
- ประเภทของกฎหมาย
1. กฎหมายเอกชน
– เป็นกฏหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน
– ไม่มีบทเด็ดขาด สามารถตกลงแตกต่างจากที่กฏหมายว่าไว้ก็ได้ถ้าไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
– ไม่มีโทษ
– ตัวอย่างเช่น กฏหมายแพ่ง, กฏหมายพาณิชย์, พระราชบัญญัติต่างๆ ที่เกียวกับเอกชน เช่นพรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา, พรบ.ว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม
2. กฏหมายมหาชน
– เป็นกฏหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
– รัฐเข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะที่เป็นคนกลาง มาควบคุมความสงบเรียบร้อย ไม่ให้เกิดความโกลาหล
– มีโทษ ถ้าไม่ปฏิบัติตาม
– ตัวอย่างเช่น กฏหมายอาญา, กฏหมายปกครอง, รัฐธรรมนูญ, กฏหมายวิธีพิจารณาความ เช่นวิธีพิจารณาความแพ่ง, วิธีพิจารณาความอาญา
3. กฏหมายระหว่างประเทศ
– เป็นกฏหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
– สิ่งที่เป็นกฏหมายระหว่างประเทศมาจากข้อตกลงร่วมกันระหว่างองค์กร ระหว่างประเทศ หรือระหว่างสมาชิกขององค์กร
– ไม่มีสภาพบังคับ ไม่มีโทษ อาจจะมีเพียงการ Boycott กันเอง
– กฏหมายสัญชาติถือเป็นกฏหมายภายใน ไม่ถือว่าเป็นกฏหมายระหว่างประเทศ
– กฏหมายระหว่างประเทศแบ่งได้ออกเป็น
1. แผนกคดีบุคคล -> เป็นเรื่องของบุคคลของรัฐนึงกับบุคคลของอีกรัฐนึง เช่น เรื่องของการติดต่อค้าขาย หรือการสมรส
2. แผนกคดีเมือง -> เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับรัฐต่อรัฐ ว่าด้วยอำนาจรัฐ, ดินแดนของรัฐ, การทำสนธิสัญญา, อำนาจของผู้แทน หรือ ระเบียบการทำสงคราม
3. แผนกคดีอาญา -> เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของรัฐหนึ่งที่มีต่อรัฐหนึ่ง เช่นการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
Leave a comment