Introduction to Law : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมายทั่วไป #2

Introduction to Law #2 : กฏหมายแพ่ง

  • บุคคล

บุคคล หมายถึงสิ่งซึ่งสามารมีสิทธิ และหน้าที่ได้ตามกฏหมายในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์

ประเภทของบุคคล -> บุคคลธรรมดา , นิติบุคคล

การเริ่มสภาพบุคคล -> เริ่มต้นแต่เมื่อคลอดแล้วรอดอยู่เป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย

การสาบสูญ -> หายไปเกิน 5 ปี หรือเกิน 2 ปี เมื่อเกิดสงคราม,ยานพาหนะอับปาง

ความสามารถของบุคคล

1. ผู้เยาว์

ผู้เยาว์ คือผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีขึ้นไป, สมรมอายุ 17 ปี)

การทำนิติกรรม -> ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ถ้าฝ่าฝืนจะเป็น โมฆียะ

สิ่งที่ผู้เยาว์ทำได้เอง -> การได้มาซึ่งสิทธิโดยไม่มีภาระผู้พัน เช่นการให้ของด้วยสเน่หา, เรื่องเฉพาะตัว (การรับรองบุตรโดยนิตินัย), เรื่องจำเป็นในการดำรงชีวิต(ซื้อของกิน), ทำพินัยกรรมเมื่ออายุครบ 15 ปี

2. บุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งถูกจำกัดความสามารถเพราะสภาพแห่งจิต

ผู้อนุบาลดูแล และทำนิติกรรมแทน

ถ้าบุคคลไร้ความสามารภทำนิติกรรมจะเป็น โมฆียะ (โมฆียะคือสิ่งที่ทำไปแล้วยังสมบูรณ์อยู่ จนกว่าจะมีการบอกล้าง โดยคนที่บอกล้างได้ต้องเป็นคนที่กฏหมายกำหนดไว้)

3. บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งถูกจำกัดความสามารถเพราะความพิการหรือความประพฤติบางอย่าง

สามารถทำนิติกรรมบางอย่างได้

นิติกรรมบางอย่างต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ ซึ่งนิติกรรมเหล่านั้นเป็นนิติกรรมที่ทำให้เสียประโยชน์ และเสียหาย เช่นการจำนอง การให้ การกู้ การเช่าอสังการิมทรัพย์ การค้ำประกัน

  • ทรัพย์

ทรัพย์ หมายความว่าวัตถุที่มีรูปร่าง

ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้

ประเภทของทรัพย์

1. อสังหาริมทรัพย์ -> ที่ดิน ตึกรามบ้านช่อง ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินเป็นการถาวร

2. สังหาริมทรัพย์ -> ทรัพย์ทั่วไป, ทรัพย์อื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์

3. ทรัพย์แบ่งได้- แบ่งไม่ได้

4. ทรัพย์บอกพาณิชย์ -> ทรัพย์ที่ห้ามซื้อขาย ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ ได้แก่ ที่วัด อาวุธ

ส่วนควบเครื่องอุปกรณ์และดอกผล

1. ส่วนควบ -> ส่วนที่ติดอยู่กับทรัพย์นั้น เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน เช่น ล้อรถกับรถ

2. ส่วนอุปกรณ์ -> ส่วนที่ไม่จำเป็นต้องมี แต่ติดเพื่อประโยชน์ใช้สอย

3. ส่วนดอกผล -> ผลจากธรรมชาติ ลูกของสัตว์ ดอกเบี้ย กำไร

  • ทรัพย์สินทางปัญญา

1. ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ คือ สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์งานที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานของตน

ตัวอย่างเช่น งานวรรณกรรม, นาฏกรรม, ศิลปกรรม, ดนตรี, ภาพยนต์,โปรแกรมคอมพิวเตอร์

ไม่ต้องจดทะเบียน จะคุ้มครองโดยอัตโนมัติ

การคุ้มครอง -> ทั่วไป : คุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์และ 50 ปี หลังจากผู้สร้างสรรค์ตาย แต่ถ้าเป็นงานที่สร้างขึ้นโดยนิติบุคคลหรือมีการโฆษณาจะคุ้มครอง 50 ปีนับจากวันที่มีการโฆษณา

2. สิทธิบัตร

สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะตามกฏหมายกำหนด

ประเภทของสิทธิบัตร

1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ -> ลักษณะที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่, มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น, สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทางอุตสาหกรรม

2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ -> ต้องเป็นการออกแบบใหม่เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม

3. อนุสิทธิบัตร

อายุของสิทธิบัตร -> สิทธิบัตรการประดิษฐ์ 20 ปีนับจากวันขอ, สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 10 ปีนับจากวันขอ

3. เครื่องหมายการค้า

เครื่องหมายการค้า คือ เครื่องหมายที่ใช้กับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นของผู้ใด โดยมีอายุ 10 ปีและอาจจะต่ออายุได้เป็นคราวๆละ 10 ปี

ลักษณะที่จดทะเบียนได้ -> ต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ, ไม่มีลักษณะต้องห้ามทางกฏหมาย, ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่น

  • สัญญาซื้อขาย

สัญญาซื้อขาย คือ สัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อจะต้องชำระเงินให้กับขาย (ต้องเป็นเงินเท่านั้น ถ้าเป็นสิ่งของจะเป็นสัญญาแลกเปลี่ยน)

ประเภทของสัญญาซื้อขาย

1. สัญญาซื้อขายเด็ดขาด

กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้นย่อมโอนไปทันทีขณะที่ทำสัญญา ถึงแม้จะไม่มีการส่งมอบหรือว่าชำระราคา

2. สัญญาจะซื้อจะขาย

กรรมสิทธ์ในทรัพย์สินยังไม่โอน เนื่องจากติดขั้นตอนของระเบียบในเรื่องของตัวทรัพย์เช่น การจดทะเบียน การโอนกรรมสิทธิ์

ทำเพื่อให้เกิดความผูกพัน ว่าต่อไปจะมาทำสัญญาซื้อขายเด็ดขาด ซึ่งถ้าต่อมาไม่มาทำสัญญาซื้อขายเด็ดขาดก็สามารถฟ้องร้องได้

แบบ : เป็นสิ่งที่กฏหมายเคร่งครัดมากในการทำผิดสัญญาซื้อขาย

1. สัญญาซื้อขายเด็ดขาดในการซื้อ อสังหาริมทรัพย์, สังหาริมทรัพย์พิเศษ (สัตว์พาหนะ, เรือที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป, แพ) : ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าไม่ทำตามแบบจะเป็นโมฆะ

2. สัญญาจะซื้อจะขายในการซื้อ อสังหาริมทรัพย์, สังหาริมทรัพย์พิเศษ, สังหาริมทรัพย์ 20000 บาทขึ้นไป : ต้องมีหลักฐานอันนึงอันใดในการฟ้องร้อง ลงลายมือชื่อฝ่ายผู้รับผิดเป็นสำคัญ, ไว้วางประจำได้, ได้ชำระหนี้บ้างส่วนแล้ว

  • สัญญาแลกเปลี่ยน

สัญญาแลกเปลี่ยน เหมือนกับสัญญาซื้อขาย แต่ต่างที่ว่าสิ่งที่มาชำระเป็นทรัพย์สิน ไม่ใช่เงิน

นำแบบของสัญญาซื้อขายมาให้

สัญญาให้

สัญญาให้ เป็นสัญญาซึ่งผู้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง

มีการโอนกรรมสิทธิ์ และเป็นสัญญาไม่มีค่าตอบแทน

สามารถถอนคืนการให้ได้เมื่อ ผู้รับกระทำเนรคุณต่อผู้ให้ โดยทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

1. ประทุษร้ายผู้ให้เป็นความผิดทางอาญาอย่างร้ายแรง เช่น ทำร้ายร่างกาย, ฆ่า

2. ผู้รับทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือทำการหมิ่นประมาท

3. ผู้รับบอกปัดไม่ให้สิ่งจำเป็นเลี้ยงชีพแก่ผู้ให้

ถอนคือการให้ไม่ได้ถึงแม้จะเนรคุณเมื่อ

1. ให้บำเหน็จสินจ้าง

2. ให้ที่มีค่าภาระติดพัน เช่น ต้องไปเสียภาษีที่ดิน

3. ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา เช่น ระหว่างบิดาและบุตร

4. ให้ในการสมรส

  • สัญญายืม

แบ่งประเภทของสัญญายืมออกได้เป็น

1. สัญญายืมใช้คงรูป

ผู้ยืมได้ใช้ทรัพย์สินโดยไม่มีค่าตอบแทน

ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ไม่ว่าจะยืมนานเท่าใดก็ตาม

ใช้เสร็จต้องคืนในสภาพเดิม

สัญญาสมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สิน ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือใดๆทั้งสิ้น

2. สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง

ผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

ทรัพย์เป็นชนิดให้ไปสิ้นไป ไม่สามารถเอาตัวเดิมมาคืนได้

ผู้ยืมต้องคืนทรัพย์อันใหม่ที่มี ชนิด, ปริมาณ, คุณภาพ เหมือนทรัพย์เดิม

สัญญาสมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สิน เช่น สัญญากู้ยืมเงิน

จะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้ โดยอาจจะให้ค่าตอบแทนเป็นดอกเบี้ย

ดอกเบี้ยห้ามเกินร้อยละ 15 ต่อปี ถ้าเกินตัวสัญญาจะสมบูรณ์ แต่ดอกเบี้ยจะเป็นโมฆะ

ถ้ากู้ยืมมากกว่า 2000 บาทต้องมีหนังสือถึงจะฟ้องร้องได้

  • สัญญาประกันด้วยบุคคลและทรัพย์สิน

เป็นสัญญาอุปกรณ์ เนื่องจากเกิดขึ้นเองไม่ได้ต้องมีสัญญาหลักก่อน

1. สัญญาค้ำประกัน

บุคคลภายนอกผูกพันต่อเจ้าหนี้ในการชำระหนี้แทนลูกหนี้

ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์ไล่เบี้ยลูกหนี้

2. สัญญาจำนอง

ทรัพย์สินเป็น อสังหา, สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ,ทรัพย์ที่มีการจดทะเบียนพิเศษตามกฏหมาย เช่น เครื่องบิน

เอาทรัพย์สินไปจดทะเบียนเพื่อประกันชำระหนี้

ไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน

ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของทรัพย์

กรรมสิทธิ์ไม่โอนไปจนหว่าจะบังคับจำนอง

การบังคับจำนองต้องฟ้องร้องต่อศาลเท่านั้น โดยฟ้องศาลเพื่อให้ ขายทอดตลาด, เอากรรมสิทธิ์

3. สัญญาจำนำ

ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้รับจำนำ

ทรัพย์ทีจำนำต้องเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น

ผู้รับจำนำจะยึดหน่วงทรัพย์ไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้

บังคับจำนำโดยขายทอดตลาดเอง

ถ้าขายได้เงินไม่ครบ สามารถเรียกส่วนขาดได้

  • สัญญาประกันภัย

หลักสำคัญ

1. หลักส่วนได้ส่วนเสีย

2. หลักความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่ง : คู่สัญญาจะต้องมีความซื่อสัตย์ในการบอกความจริงต่างๆ เกี่ยวกับตน

3. เป็นสัญญาเสี่ยงโชค เสียงภัย

4. เป็นสัญญาต่างตอบแทน จะมีบุคคลภายนอกมาเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ได้

บุคคลที่เกี่ยวข้องในสัญญาประกันภัย : ผู้เอาประกัน, ผู้รับประกันภัย, ผู้รับประโยชน์

หลักการเปิดเผยความจริง : ถ้ารู้ความจริงแล้วต้องเปิดเผย โดย ผู้เอาประกัน และ ผู้ถูกเอาประกัน ต้องเป็นผู้เปิดเผยถ้าไม่เปิดเฉยจะมีผลให้สัญญาเป็นโมฆียะ

หลักในเรื่องเปิดเผย

1. เปิดเผยข้อความจริงที่เกี่ยวกับวัตถุที่เอาประกัน (ข้อสาระสำคัญ)

2. รู้แล้วต้องบอก ถ้าไม่รู้ ไม่บอก ไม่ผิด

3. ระยะเวลา ต้องเปิดเผยก่อนเวลาทำสัญญาจนถึงขณะที่ทำสัญญา

4. ผล = ถ้าไม่บอกตามความจริงจะมีผลให้สัญญาเป็นโมฆียะ, บริษัทบอกล้างได้สัญญาจะเป็นโมฆะ

หลักการจ่ายค่าสินไหมทดแทน

1. จ่ายตามความเสียหายจริง ไม่เกินจำนวนเงินที่เอาประกัน

2. ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เสียไป เพราะรักษาทรัพย์ไม่ให้วินาศ

วัตถุเดียวกันประกันไว้หลายราย

1. ทำประกันพร้อมกัน (ภายในวันเดียวกัน) – > ผู้รับประกันแต่ละรายใช้ตามส่วนมากนั้นเท่าที่ตนรับประกันไว้

2. ทำไม่พร้อมกัน – > ผู้รับประกันรายแรกรับผิดชอบก่อน ถ้ายังไม่คุ้ม ผู้รับประกันรายถัดไปรับส่วนที่เหลือ

ผู้รับประกันไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย

1. ประกันวินาศภัย

ผู้เอาประกันทุจริตทำให้เกิดวินาศภัย เช่น วางเพลิงเอาเงินประกัน

ผู้เอาประกัน หรือ ผู้รับประโยชน์ ทำให้เกิดวินาศภัยโดยประมาท

วัตถุที่เอาประกันไม่สมประกอบ

2. ประกันชีวิต

ผู้เอาประกัน หรือ ผู้ถูกเอาประกัน ฆ่าตัวตายภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญา

ผู้รับประโยชน์ ฆ่าผู้เอาประกันโดยเจตนา

  • ละเมิด

ละเมิด คือ กระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฏหมายให้เขาเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิ์

ความรับผิดชอบในการกระทำของบุคคลอื่น : นายจ้าง – ลูกจ้าง, ตัวการ – คนกลาง, ผู้ว่าจ้าง – ผู้รับจ้าง, ครูอาจารย์ – นักเรียน, บิดา มารดา – บุตร

ความรับผิดชอบในความเสียหายอันเกิดจากสัตว์ : เจ้าของ หรือผู้รับเลี้ยงดูแลแทนต้องรับผิดชอบ

ความเสียหายจากโรงเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้าง : ผู้ครอบครองรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทน

ค่าสินไหม

1. ค่าทำศพ

2. ค่ารักษาพยาบาล

3. ค่าขาดไร้อุปการะ

4. ค่าขาดแรงงาน

5. ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้

6. ราคาทรัพย์สิน , ค่าซ่อม, ค่าเสื่อมราคา

Download Introduction to Law_1.pdf

Download Introduction to Law_2.pdf

Leave a comment