Introduction to Law : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมายทั่วไป # 3

Introduction to Law # 3 : กฏหมายอาญา

  • ลักษณะของกฏหมายอาญา

เป็นกฏหมายบัญญัติถึงการกระทำ : บัญญัติถึงการกระทำการงดเว้นและการละเว้นของบุคคล

เป็นกฏหมายบัญญัติถึงความผิด : บัญญัติด้วยว่าการกระทำ การงดเว้น และการละเว้น อย่างใดเป็นความผิดอาญาฐานใด

  • องค์ประกอบความรับผิดทางอาญา

1. มีการกระทำ : การกระทำหมายถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยต้องเป็นการรู้สึกของจิตใจของผู้กระทำ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ตกลงใจตามคิด และลงมือกระทำ รวมไปถึงการงดเว้นการกระทำด้วย

2. การกระทำนั้นครบ ”องค์ประกอบภายนอก” ของความผิดนั้นๆ : องค์ประกอบภายนอกเป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกร่างกายสามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้

3. การกระทำครบ “องค์ประกอบภายใน” : องค์ประกอบภายในเป็นสิ่งที่อยู่ในจิตใจของผู้กระทำซึ่งไม่อาจมองเห็นจากภายนอกได้ว่าเจตนา (เจนตนา คือ ประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผล) หรือประมาท

4. ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลของการกระทำ : กระทำโดยเจตนา ได้แก่การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันกับผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำ

  • ผู้ต้องรับผิดในทางอาญา

1. ผู้ใช้ : ผู้ที่ไม่ได้ลงมือ แต่มีการใช้กำลังบังคับขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นทำผิด

2. ตัวการ : มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป, ร่วมมือกันกระทำความผิด, ร่วมใจกระทำความผิด

3. ผู้สนับสนุน : ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อน หรือ ขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม รับผิดโทษ 2 ใน 3 ส่วนของความผิดที่ระวางไว้

  • เหตุยกเว้นความรับผิด

ถ้ากระทำไปด้วยการป้องกันโดยชอบ กฏหมายถือว่าไม่มีความผิดใดๆ

  • เหตุยกเว้นโทษ

บกพร่องทางจิต(คนบ้า), เสพย์สิ่งมึนเมา อาจจะเป็นยา หรือสุรา

กระทำโดยจำเป็น, กระทำตามคำสั่งเจ้าพนักงาน

กระทำระหว่างสามี-ภรรยา : ถ้าเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์ สามารถยกเว้นโทษได้

กระทำผิดขณะอายุไม่เกิน 10 ปี

  • เหตุลดหย่อนโทษ : มีโทษ แต่รับโทษน้อยลง

กระทำโดยบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงอย่างไม่เป็นธรรม

  • ความผิด

1. ตระเตรียม : ไม่มีความผิดยกเว้นเป็นความผิดร้ายแรงเช่น ลอบปลงพระชนม์

2. พยายามกระทำ : กระทำแล้วแต่ไม่สำเร็จ หรือมีการยกเลิกการกระทำก่อน

3. กระทำ

  • ตัวอย่างความผิด

ฆ่าคนตาย : กระทำโดยเจตนา(ดูจากกรรม เช่น เอาปืนยิง) ทำให้ถึงตาย และตายจริง ไม่ว่าเพราะการกระทำหรือปัจจัยแทรก

ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา : ไม่มีเจตนาให้ถึงตาย แต่อาจจะทำร้ายจนถึงตาย

ทำร้ายให้คนตายโดยประมาท : ไม่เจตนาแต่ไม่ระมัดระวังกระทำการใดๆ แล้วเป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย

ทำร้ายร่างกาย : มีการใช้กำลังประทุษร้าย แบบธรรมดา, แบบสาหัส เช่น เสียอวัยวะ พิการ แท้ง เสียการรับรู้ ต้องรักษาพยาบาลติดต่อกันเกิน 20 วัน

ลักทรัพย์ : เอาทรัพย์ผู้อื่นไปโดยทุจริตในขณะที่ทรัพย์อยู่ในความครอบครองของผู้อื่น

ยักยอก : เอาทรัพย์ผู้อื่นขณะอยู่ในความครอบครองของตน

วิ่งราวทรัพย์ : เอาทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า

ชิงทรัพย์ : การลักทรัพย์ร่วมกับการข่มขู่ว่าจะทำร้ายหรือมีการใช้กำลังทำร้าย

ปล้นทรัพย์ : ร่วมกันชิงทรัพย์โดยกระทำ 3 คนขึ้นไป

Download Introduction to Law_1.pdf

Download Introduction to Law_2.pdf

Download Introduction to Law_3.pdf

Leave a comment