[C#]Unit 1 พื้นฐาน C# ตอน 3
Unit 1 : พื้นฐาน C# ตอน 3
การพัฒนาโปรแกรมบน Visual C# .NET
- พื้นฐานทั่วไปVisual C# .NET เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรมด้วย C# ซึ่งเป็นหนึ่งในชุด Visual Studio .NET ของ Microsoft มีทั้งการเขียนแบบ Visual และแบบ Console Application ซึ่งจริงๆแล้วสำหรับมือใหม่อาจจะเริ่มต้นด้วย Sharpdev ก็ได้
- Download Programโหลดได้ฟรีจากเว็บไมโครซอฟท์ แต่มันอืดเลยเอามา Mirror ให้ละกันftp://ftp.cpsk.info/mirror/VS2008ExpressENUX1397868.isoเป็น UDF ISO จะไรท์ลงแผ่น, Extract แล้วลง, หรือจะ ImageDrive ยังไงก็ได้ ลองดูตามสบาย
โดยรวมๆ มันก็เหมือนกับ VS2005EE แหละ แต่โดยรวมแล้ว UI จะลื่นไหลกว่า และ Support .NET Framework ถึง 3.5สำหรับ .NET Framework รุ่นต่างๆ โหลดได้ข้างล่างนี่ (เครื่องทั่วไปจะมีถึง 2.0 แล้ว โหลดแค่ 3.0, 3.5 ก็พอ)
- .NET Framework 1.0 ftp://ftp.cpsk.info/mirror/dotnetfx10.exe
- .NET Framework 1.1 ftp://ftp.cpsk.info/mirror/dotnetfx11.exe
- .NET Framework 2.0 ftp://ftp.cpsk.info/mirror/dotnetfx20.exe
- .NET Framework 3.0 ftp://ftp.cpsk.info/mirror/dotnetfx30.exe
- .NET Framework 3.5 ftp://ftp.cpsk.info/mirror/dotnetfx35.exe
- เริ่มต้น1.เปิดโปรแกรม2.เลือก File >>New Project >> เลือก Console Application
3. ช่อง Name ใส่ชื่อของproject
4. ช่อง Location ใส ่Directory ที่จะใช้เก็บ Project
5. ช่อง Solutionให้เลือกวิธีการเก็บ Project โดยปกติก็ไม่ต้องเลือก
แต่ถ้าต้องการนำ Project เพิ่มเข้าไปใน Project อื่นก็เลือกเป็น Add to Solution6. จะอธิบายส่วนที่สำคัญก่อน โดยสามารถลบส่วนอื่นทิ้งไปก่อนได้เลย
using System >> เป็นการประกาศใช้องค์ประกอบพื้นฐานของระบบในการทำงานทั่วๆไป
class >> เป็นส่วนที่เราเอาไว้เก็บรายละเอียดทั้งหมด
static void Main(string[] args){…} >> เป็นMethod หลักของ class
- Console.Write/WriteLine
เป็นคำสั่งสำหรับเขียนข้อความลงบน Console Window เำพื่อแสดงผลลัพธ์ในแบบ Text
1. Console.Write(ข้อความ) >> เป็นการเขียนข้อความลงไปแล้วเคอร์เซอร์จะไปหยุดรออยู่ที่ท้ายข้อความนั้น เช่นConsole.Write(“Hello”); 2. Console.WriteLine(ข้อความ) >> เป็นการเขียนข้อความลงไปแล้วเคอร์เซอร์จะไปหยุดรออยู่บรรทัดถัดไป เช่น
Console.WriteLine(“Hello World “); - Console.Read/ReadLine
ใช้ในการอ่านข้อมูลที่ผู้ใช้ใส่เข้าไปจากคีย์บอร์ด ณ จดที่รอรับคำสั่ง1. Console.Read() >> เป็นการอ่านค่าอักขระในตำแหน่งถัดไป ในรูปแบบของ integer(int)
2. Console.ReadLine() >> อ่านข้อมูลอยู่ที่บรรทัดถัดไปในรูปแบบของ string <นิยมใช้มากกว่า>เช่น
string name = Console.ReadLine(); - การรันโปรแกรม มี 2 วิธี1.กด F5 บนคีย์บอร์ด2.เลือกปุ่มสามเหลี่ยมสีเขียวที่ Toolbar
Tip : ถ้าหากรันโปรแกรมแล้วดูไม่ทันให้ใส่ Console.Read(); ต่อ
- การรับข้อมูลที่เป็นตัวเลขการรับข้อมูลผ่านเมธอด ReadLine จะเป็นการรับข้อมูลมาในรูปแบบของ string ดังนั้นถ้าเราต้องการแปลงจาก string ให้เป็นตัวเลขให้ทำดังนี้1.ชนิดข้อมูล.Parse(string);
string str = Console.ReadLine(); int x = int.Parse(str) ;
double s = double.Parse(str);
2.
Convert.Toxxx(string); // เมื่อ xxx คือชนิดข้อมูลที่ต้องการstring str = Console.ReadLine(); single s = Convert.ToSingle(str);
- การแทรกข้อมูลลงในสตริงการแทรกข้อมูลหรือการนำเอาข้อมูลมาแสดงรวมกัน เช่น
string name = “Nicole”; int age = 33;
ถ้าต้องการว่า Her name is Nicole and her age is 33 years old สามารถทำได้ 2 วิธี
Console.Write(“Her name is”+ name +”and her age is” + age +”years old “); Console.Write(“Her name is {0} and her age is {1} years old “,name,age); - อักขระพิเศษเป็นอักขระที่นำมาใช้ในการควบคุมการแสดงในแต่ละบรรทัด1. \n >>ใช้ในการสั่งให้ขึ้นบรรทัดใหม่
2. \t >>ใช้เมื่อต้องการให้เว้นระยะไปเท่ากับ 1 แท๊บ
3. \r >> Carriage Return สิ้นสุดบรรทัด
- การปรับแต่ง Source Code Editorเลือก Tool>>Options… >> Environment >> Fonts and Colors
- การบันทึก มี 2 วิธี1.เลือก File >> Save All2.กด Ctrl+Shift+s บนคีย์บอร์ด
- การเปิด Project เดิม มี 2 วิธี1. เลือก File >> Open Project แล้วเลือกไฟล์ที่มีชื่อเดียวกับProject2. กด Ctrl+Shift+o บนคีย์บอร์ด แล้วเลือกไฟล์ที่มีชื่อเดียวกับProject
Leave a comment