พรีเซนต์พร้อมจัดบูธการประกวดเจ้าฟ้าไอที#5รอบสอง

FRIT_5_off_4.jpg

ในที่สุดก็ถึงวันที่ต้องไปพรีเซนต์และจัดบูธในการประกวดรางวัล เจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ – FRIT ครั้งที่ 5 ซึ่งงานนี้ออฟส่งโปรเจ็คจบที่ทำคนเดียวนี่แหละเข้าประกวดด้วย ซึ่งวันนี้้เป็นวันแข่งขันรอบสองแล้ว จากตอนแรกมีส่งทั้งหมดประมาณ 95 ผลงานจากทั่วประเทศแล้วคัดเหลือ 20 ผลงานที่ต้องมาพรีเซนต์วันนี้และจัดบูธด้วยค่า

7.00 ถึง SCB แต่ว่ายังเข้าไม่ได้ก็เลยไปหาเซเว่น เพราะว่ารองเท้าคู่ใหม่มันกัด เจ็บมากๆมากมายเลยอ่ะ ยังไม่มีใครมาเลยด้วย เลยได้ไปนั่นที่ แมค รอไผ่กินเบอร์เกอร์ตอนเช้า

7.30 เข้าที่ห้องจัดงานได้แล้ว คนเริ่มมาแล้วเหมือนกัน ดีที่ออฟมาจัดบูธไว้ตั้งแต่เมื่อวานแล้วก็เลยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเท่าไหร่ แต่โปสเตอร์ที่ทำนี่ พอเอามาวางบนผนังสีขาวแล้วแอบจืดไปนิดนึงอ่ะ รู้งี้ทำพื้นหลังสีดำก็ดีสิ แต่ไม่เป็นไร ดูโดยรวมแล้วก็โอเคดี เน้นแบบเรียบๆ ตัวหนังสือใหญ่ๆ

FRIT_5_booth.jpg

8.30 กรรมการเริ่มเดินดูบูธหลายคนก็เลยอธิบายๆ พร้อมกับแจกแผ่นพับไปด้วย อิอิ ก็ดูจะชอบใจกันอยู่บ้าง แต่เน้นย้ำเรื่องยังไม่มีคนทำเยอะเหลือเกิน แต่ก็โอเคแหละ แบบว่าถ้ามีคนทำแล้ว ก็คงไม่น่าทำเท่าไหร่ ตอนนี้นั่งเฝ้าบูธคนเดียว เบื่อๆ นิดหน่อย อยู่บูธที่ 10 ติดกับทางเข้าที่ทานข้าวเลยอ่ะ นี่ก็ซ้อมๆ พูดตรงที่จะไปพรีเซนต์กรรมการอยู่เหมือนกัน โปสเตอร์การ์ตูนนี่ก็ยังดึงดูดคนใช้ได้อยู่เหมือนกันนะเนี่ย แบบว่าเค้าเจอการ์ตูนก่อน แล้วก็ค่อยถามเราว่าทำอะไร ทำยังไง ดีนะที่โปรเจ็คเป็นเรื่องที่อธิบายไม่ยากเท่าไหร่

FRIT_5_friend_2.jpg

9.00 รู้จักเพื่อนบูธใกล้เคียงชื่อ ฝน ทัก และดิวมาจากมอ.ปัตตานีด้วยอ่ะ เค้าทำเรื่อง Health Care Monitoring with Wireless Sensor Network ซึ่งเค้าก็ทำเรื่องให้บริการดูแลผู้ป่วย แบบว่ามีการแจ้งเตือนหลายทางมากเลยด้วย ทั้งส่งสัญญาณแจ้งเตือน ส่ง message แถมยังสามารถ monitor ผ่านทางเว็บไซต์ได้อีกด้วย มีกรรมการเข้ามาดูหลายคนแล้ว คิดว่า feedback ค่อนข้างดีนะ มีอาจารย์ที่เชียร์โปรเจ็คเราด้วย พอดีอาจารย์เค้าสนใจก็เลยขออีเมลออฟไปด้วยเลย ดีใจจังเลย อิอิ
– มีกรรมการแนะนำด้วยว่าชื่อโปรเจ็คแคบไปนิดนึงน่าจะชื่อว่าระบบตรวจความเหมือนของเอกสาร เพราะว่าสามารถเอาไปใช้ในส่วนของการตรวจเรื่องของสัญญาต่างๆ ได้ด้วย ว่ามีใครมาเปลี่ยนแปลงเอกสารเราตรงไหนรึเปล่า ซึ่งตัวโปรเจ็คออฟนั้นสามารถแสดงส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อยู่แล้ว ซึ่งก็ได้ไอเดียมากๆเลยอ่ะ
– อยากไปเดินดูบูธคนอื่นบ้างจัง คงต้องรอให้กรรมการเค้าขึ้นไปก่อนละมั้ง ถึงจะได้ไปเดินดูของคนอื่นบ้าง มีโปรเจ็คที่น่าสนใจหลายอย่างเลยนะเนี่ย
– มีกรรมการบอกว่าให้เตรียมเดโมแบบรัดกุมด้วยอ่ะ

12.00 มีพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์มาดูบูธกันเยอะมากๆ เลยอ่ะ แบบว่าดูเค้าก็สนใจดีนะ แบบว่าโอ้โห้ ตรวจการบ้านหรอ ซึ่งคำถามที่ถามมากๆ ก็คือ ตรวจยังไงก็โชคดีที่มีโปสเตอร์ที่อธิบายแล้วเข้าใจได้ง่าย ซึ่งโปสเตอร์หลักๆ ที่ออฟใช้อธิบายก็คือ  SDS ตรวจอย่างไร และโปสเตอร์ ผลจาก SDS แบบว่าพอชี้ให้เค้าเห็นว่าเรามีผลการตรวจที่แสดงให้อาจารยหรือผู้ใช้เห็นได้เลยนะว่าตรวจยังไงก็ทำให้เค้าโอ้ว้าวอยู่เหมือนกัน
– น้าแอนพาเพื่อนๆ มาดูด้วย แถมด้วยหนังสืลองไปพูดบนเวทีก็เลยคุยกันได้ไม่ค่อยนานเท่าไหร่เลยอ่ะ
– อาจารย์ชัยพรกับอาจารย์เจี๊ยบมาเยี่ยมเยียนด้วย อิอิ เลยได้ถ่ายรูปกันที่บูธด้วยเลย

FRIT_5_friend_3.jpg

12.45 พรีเซนต์โปรเจ็คบนเวที

FRIT_5_off_3.jpg

13.20 พอคนเริ่มซาก็เลยไปดูบูธข้างๆ ที่เค้าทำ อุปกรณ์ควบคุมเมาส์พอยเตอร์สำหรับผู้พิการทางแขน จากม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งก็ไปลองใช้งานของเค้าดูแบบว่าสามารถใช้การยักคิ้ว หรือว่าการเป่าเพื่อพิมพ์หรือว่าใช้เป็นพอยเตอร์ได้แต่มีข้อแม้สำคัญคือคนนั้นต้องมีหัวด้วย อิอิ

14.24 พอบอกว่าคนเริ่มซา จริงๆ แล้วก็มีคนมาถามเรื่อยๆ อะนะ  มีกรรมการครั้งที่แล้วมาถามด้วย ว่ามีอะไรเพิ่มเติมอีกรึเปล่า ซึ่งพออธิบายในส่วนของเว็บไซต์และข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตแล้วกรรมการก็โอเคดี แล้วก็ถามนิดหน่อยเรื่องที่ว่าจะทำอะไรเพิ่มเติม แถมตอนนี้แผ่นพับจะหมดแล้วด้วยอ่ะ เอามาเกือบร้อยเลยนะเนี่ย ตอนนี้เหลือไม่ถึงสิบใบแล้วอ่ะ

16.00 ปรกาศผล หลังจากที่เ้ค้ามีให้แต่ละทีมขึ้นไปพรีเซนต์บนเวทีกันหมดแล้ว และกรรมการตัดสินแล้วก็มีการประกาศผล โดยเริ่มต้นจาก

รางวัล Popular Vote 3 รางวัลกันก่อน ซึ่งได้แก่
– ขุมทรัพย์จากกองขยะ (Change Garbage into Treasure) จาก ม.เกษตรศาสตร์
– Smart Home with ICT จาก ม.มหิดล
ระบบตรวจการลอกการบ้าน (Similarity detection system for homework) ม.เกษตรศาสตร์ << ของออฟเองค่า ^^

FRIT_5_off.jpg

จากนั้นต่อด้วยผู้ที่เข้ารอบต่อไป ซึ่งต้องมาพรีเซนต์อีกทีวันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ก็คือ

FRIT_5_final_1.jpg
– Smart Home with ICT จาก ม.มหิดล
– Health Care Monitoring with Wireless Sensor Network จาก ม.สงขลานครินทร์
– Bright Sight จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– อุปกรณ์ควบคุมเมาส์พอยเตอร์สำหรับผู้พิการทางแขน จาก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Student 4.0 จาก ม.เกษตรศาสตร์ << โปรเจ็คของ ไผ่ สมภพ จอย และฝนค่า

  • หมายเหตุ
    ขอบคุณรูปจาก พี่พร้อม http://qooga.multiply.com/ และ Meawznoy ด้วยค่า

Leave a comment