วางแผนเรียนต่อปริญญาโท สายคอม IT ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลังจากที่ทำงานมาได้ปีกว่าๆ ซึ่งพบว่าปรับตัวเข้ากับงานได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เลยเริ่มมาวางแผนการเรียนต่อกันบ้าง ใจจริงของออฟเลยนั้น แอบยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการเรียนปริญญาโทเท่าไหร่ คือมันก็ได้ความรู้อะไรเพิ่มแน่ๆ แหละ แต่เนื่องจากการทำงานของออฟนั้นค่อนข้างจะอิงกับ Business และ Software ที่ใช้ ดังนั้นก็เลยคิดว่าเรียนต่อไม่ค่อยให้ประโยชน์อะไรเท่าไหร่ นอกจากความภาคภูมิใจของแม่และกระดาษใบนึง

Q : แล้วทำไมมาคิดวางแผนเรียนต่อปริญญาโท???

A : คือยังไงก็คิดว่าต้องเรียนแน่ๆ เพราะความภาคภูมิใจของแม่เป็นสิ่งสำคัญยิ่งชีพ แล้วตอนนี้ก็พอจะเห็นประโยชน์ที่น่าจะได้รับ จากการเรียนต่อโทบ้างแล้วด้วย ก็เลยมาเริ่มวางแผนการเรียน เพราะไม่ใช่ว่าคิดจะเรียนแล้วจะเรียนได้เลยใช่ไหมละคะ แบบว่าไหนจะเรื่องค่าใช้จ่าย คุณสมบัติในการเรียน (บางที่เค้าต้องให้มีประสบการณ์การทำงานก่อนถึงเรียนได้) เวลาเรียน คือมีหลายอย่างเลยที่จะต้องเตรียมตัว ก็เลยคิดว่าวางแผนไว้ก่อนดีกว่า

Q : ตั้งใจจะเรียนโท ที่ไหน และทำไม???

A: ตอนนี้ ย้ำค่ะ ว่าตอนนี้ที่กำลังอัพบล็อกอยู่นี่คิดว่าจะเรียนต่อที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบบว่าคิดว่าจะเดินทางสะดวกดี ทั้งตอนที่ออกจากที่ทำงานและตอนเลิกเรียนแล้วกลับบ้าน อีกทั้งเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศของสภาพแวดล้อม หลังจากเรียนปริญญาตรีที่รั้วนนทรี มา 4 ปี ครั้งนี้มาลองอยู่รั้วชมพูกันดูบ้าง ส่วนเท่าที่ดูตอนนี้ คอร์สที่เปิดก็น่าสนใจใช้ได้เลยค่ะ

Q : เล็งว่าจะเรียนหลักสูตรไหนบ้าง

A: ตอนนี้กำลังดู หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา  ระบบสารสนเทศทางการจัดการ (MIS) กับ  หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต     สาขาวิชา การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ (BSD) ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี อยู่ค่ะ แต่ตอนนี้เท่าที่ได้อ่านหลักสูตรกของ  BSD นั้นน่าสนใจมากทีเดียว แบบว่าไม่ออกแนวธุรกิจมากไป และมีเนื้อหาที่เคยเรียนตอนป.ตรีแล้วหลายอย่าง  แต่ยังเข้าเวบของ MIS ไม่ได้เลยค่ะ [BSD : http://bsd.acc.chula.ac.th, MIS : http://it.acc.chula.ac.th ]

Q : หลักสูตร BSD แตกต่างจากหลักสูตร MIS อย่างไร ?

A : แตกต่างตรงที่หลักสูตร BSD เน้นกระบวนการทั้งหมดของการได้มาซึ่งซอฟต์แวร์ (Software Engineering) แต่หลักสูตร MIS เน้นการบริหารจัดการระบบสารสนเทศ คือการนำซอฟต์แวร์ไปประยุกต์ใช้ในภาพรวม (ที่มา : http://bsd.acc.chula.ac.th/faq.html)

Q: รายละเอียดของ การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ (BSD)

คุณสมบัติของผู้สมัคร

1.     สำเร็จปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์  วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ หรือ สาขาที่เกี่ยวข้องโดยต้องเรียนผ่านวิชาด้านคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 30 หน่วยกิต หรือมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครได้
2.     มีคะแนนทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ ของศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-TEP) เทียบเท่ากับ TOEFL มากกว่า 450 คะแนน หรือคะแนน IELTS มากกว่า 4.5 (ผลสอบใช้ได้ภายใน 2 ปี)
3. ผู้ที่จะเข้าศึกษาในภาคนอกเวลาราชการ จะต้องมีประสบการณ์ทำงานหลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีอย่างน้อย 1 ปี นับถึงวันปิดรับสมัคร

รายละเอียดเกี่ยวกับการสมัคร
ยื่นใบสมัคร – ปลายมิถุนายน ถึง ปลายกรกฏาคม
สอบข้อเขียน – ต้นสิงหาคม
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์ – กลางสิงหาคม
สอบสัมภาษณ์ – ปลายสิงหาคม
เรียนปรับพื้นฐานธุรกิจ – ต้นตุลาคม
เปิดเรียนภาคการศึกษาแรก – ต้นพฤศจิกายน

การสอบคัดเลือก

การสอบคัดเลือกประกอบด้วยการสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์ ผู้ที่สอบข้อเขียนผ่าน จึงจะมีสิทธิสอบสัมภาษณ์

วิชาที่สอบในการสอบข้อเขียน ได้แก่
1. ตรรกะการพัฒนาโปรแกรม (Programming Logic)
2. การวิเคราะห์เชิงระบบ (System Analysis)
3. ฐานข้อมูล (Database)
4. โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)

หลักสูตรภาคนอกเวลาราชการ
ค่าใช้จ่ายในการศึกษาตลอดหลักสูตรเป็นเวลา 2 ปี ประมาณ 200,000 บาท ได้แก่
1. ค่าเล่าเรียน เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย
2. ค่าธรรมเนียมพิเศษ ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท (รวมค่าหนังสือ และเอกสารประกอบการเรียน)

การอบรมความรู้พื้นฐานทางธุรกิจ
ค่าใช้จ่ายในการเข้าอบรมความรู้พื้นฐานทางธุรกิจ 4,000 บาท

จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะรับ 20         คน

เวลาเรียน ของภาคนอกเวลาราชการ
วันธรรมดา จันทร์ – ศุกร์ เวลา 18.00 น. – 21.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ (9.00 น.-12.00 น. และ 13.00 น.-16.00 น.) อาจจะมีเรียนวันเสาร์-อาทิตย์บ้าง ทั้งนี้แล้วแต่อาจารย์ผู้สอน แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีเรียนวันอาทิตย์

Q : อยากรู้รายละเอียดของ BSD เพิ่มเติม

A: ลองไปงาน OPEN HOUSE ’11 Chulalongkorn Univ.
วันที่ 22 พฤษภาคม 2554
สถานที่: ห้องโหงวฮก อาคารไชยยศสมบัติ 3
เวลา : 15.00 น.

Q: รายละเอียดของสาขาวิชา  ระบบสารสนเทศทางการจัดการ (MIS)

วิชาที่ใช้ในการสอบของการเข้าเรียนหลักสูตรนี้มีอะไรบ้าง ?
มีคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ธุรกิจ (ในรูปแบบของการสอบ CU-BEST) ภาษาอังกฤษ (ในรูปแบบของการสอบ CU-TEP) และความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ โดยคะแนนจะต้องผ่านเกณฑ์ทุกรายวิชา หลังจากสอบข้อเขียนผ่านจะมีการสอบสัมภาษณ์ และเรียนปรับพื้นฐาน

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร
1. ผู้ที่เลือกแขนงวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชี ต้องสำเร็จปริญญาตรีทางการบัญชี ผู้ที่เลือกแขนงวิชาระบบสารสนเทศทางการจัดการ (MIS) และระบบสารสนเทศทางสถิตื (SIT) ต้องสำเร็จปริญญาตรีโดยไม่จำกัดสาขาวิชา
2. มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ และสถิติ รวมกันไม่น้อยกว่า 12หน่วยกิต หรือมีคุณสมบัติอื่นที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาได้
3. มีคุณสมบัติอื่นตามระเบียบของบัณฑิตวิทยาลัย
4. ผู้ที่จะเข้าศึกษาในภาคนอกเวลาราชการ จะต้องมีประสบการณ์ทำงานหลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีอย่างน้อย 3 ปี นับถึงวันสมัคร

จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะรับ 60   คน

หลักฐานประกอบการสมัคร ได้แก่

  • การสมัครหลักสูตรภาคปกติ ต้องยื่นหลักฐานตามที่บัณฑิตวิทยาลัยระบุ
  • การสมัครหลักสูตรภาคนอกเวลาราชการ ต้องยื่นหลักฐานต่อไปนี้
    1. ใบนำส่งเอกสาร
    2. หลักฐานการชำระเงินค่าสมัครสอบ ผ่าน บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์
    3. สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ 1 ฉบับ
    4. สำเนาใบรับรองคะแนนรายวิชาในระดับปริญญาตรี (Transcript) ฉบับสมบูรณ์ 1 ฉบับ
    5. สำเนาผลสอบภาษาอังกฤษ(CU-TEP) 1 ฉบับ(คะแนนเทียบ TOEFL มากกว่า 450 คะแนน
      ขึ้นไป)*
    6. สำเนาผลสอบความถนัดทางธุรกิจ (CU-BEST) 1 ฉบับ
  • สำหรับหลักสูตรภาคนอกเวลาราชการ ผู้สอบผ่านข้อเขียนจะมีสิทธิเข้าสอบสัมภาษณ์จะต้องยื่นหลักฐานเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
    • รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป (เขียนชื่อ-สกุลหลังรูป)
    • หนังสือรับรองว่ามีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปี
    • หนังสือรับรอง (Letter of Recommendation) 2 ฉบับ ซึ่งต้องรับรองโดยผู้บังคับบัญชาอย่างน้อย 1 ฉบับ

รายละเอียดเกี่ยวกับการรับสมัคร

กำหนดการ
ภาคปกติ
ภาคนอกเวลาราชการ
รับสมัคร
พ.ย.
พ.ค.
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและ
สถานที่สอบวิชาคอมพิวเตอร์
ต้น มี.ค.
ต้น มิ.ย.
สอบข้อเขียน

  • ภาษาอังกฤษ (CU-TEP)
  • ความถนัดทางธุรกิจ (CU-BEST)
  • คอมพิวเตอร์

หลายครั้งต่อปี
4 ครั้งต่อปี
กลาง มี.ค.

หลายครั้งต่อปี
4 ครั้งต่อปี
กลาง มิ.ย.

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบข้อเขียน
ปลาย มี.ค.
ต้น ก.ค.
สอบสัมภาษณ์
ต้น เม.ย.
กลาง ก.ค.
ประกาศผลสอบสัมภาษณ์
ต้น เม.ย.
ปลาย ก.ค.
เรียนปรับพื้นฐาน
กลาง เม.ย. – ปลาย พ.ค.
ส.ค. – ก.ย.
เปิดเรียน
ภาคการศึกษาต้น
ภาคการศึกษาปลาย
สถานที่รับสมัคร
ติดต่อสอบถามรายละเอียด
โทรศัพท์ : 0-2218-5715-6
Homepage : http://it.acc.chula.ac.th

การสอบคัดเลือก

การสอบคัดเลือกประกอบด้วย การสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์ ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนจึงจะมีสิทธิสอบสัมภาษณ์ วิชาที่สอบในการสอบข้อเขียน คือ

  1. ภาษาอังกฤษ (CU-TEP) ซึ่งจัดสอบโดยศูนย์ทดสอบ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายละเอียดเพิ่มเติม…
  2. ความถนัดทางธุรกิจ (CU-BEST) ซึ่งจัดสอบโดยหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4 ครั้ง/ปี รายละเอียดเพิ่มเติม…
  3. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จัดสอบโดยหลักสูตร IT

อนึ่ง ผลสอบ CU-TEP และ CU-BEST สามารถเก็บไว้สมัครสอบคัดเลือกได้
ภายในระยะเวลา 2 ปี โดยนับถึงวันเปิดเรียน

จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะรับ

หลักสูตรรับนิสิตประมาณ 60 คน ต่อภาคการศึกษาในเวลาและนอกเวลาราชการ

การเรียนวิชาเสริมความรู้พื้นฐาน

ผู้ผ่านสอบสัมภาษณ์ต้องเรียนวิชาเสริมความรู้พื้นฐานในด้านซึ่งไม่มีพื้นฐานความรู้มาก่อน ตามที่กรรมการสอบสัมภาษณ์กำหนดให้เรียน ได้แก่ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ระบบการจัดการฐานข้อมูล บัญชีการเงิน และหลักสถิติ ซึ่งไม่จำเป็นต้องศึกษาทุกด้าน เช่น ผู้เลือกแขนงวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชีไม่จำเป็นต้องเสริมพื้นฐานด้าน บัญชีการเงิน เป็นต้น การเรียนในช่วงเวลานี้นอกจากเสริมความรู้พื้นฐานแล้วยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถ ปรับตัว และมีข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อพิจารณาว่าควรศึกษาในหลักสูตรนี้หรือไม่ เมื่อสอบผ่านวิชาเสริมความรู้พื้นฐานแล้วหลักสูตรจึงรับเข้าเป็นนิสิต

ค่าใช้จ่ายในการศึกษา

ค่าเรียนวิชาเสริมความรู้พื้นฐานเทคโนโลยี 4 วิชา รวม 20,000 บาท

หลักสูตรภาคปกติ

ค่าเล่าเรียนภาคการศึกษาละ 19,000 บาทและค่าธรรมเนียมอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประกาศของมหาวิทยาลัยดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการศึกษาตามหลักสูตรเป็นเวลา 2 ปี ประมาณ 80,000 บาท

หลักสูตรภาคนอกเวลาราชการ

ค่าใช้จ่ายในตลอดหลักสูตรการศึกษาเป็นเวลา 2 ปี ประมาณ 260,000 บาท ได้แก่

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษา ภาคการศึกษาละ 45,000 บาท (รวมค่าหนังสือ เอกสารประกอบการเรียนและค่าธรรมเนียมอื่นๆ ของบัณฑิตวิทยาลัย)
  • ค่าเล่าเรียน ภาคการศึกษาละ 19,000 บาท ตามประกาศของมหาวิทยาลัย

Q : CU-TEP ที่ต้องใช้ด้วยคือคืออะไร สอบไง

CU-TEP (Chulalongkorn University Test of English Proficiency)

ทดสอบอะไร?
วัดความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาทางทักษะการอ่าน การเขียนการฟังและ
การพูดเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษทั่วไป และภาษาอังกฤษกึ่งวิชาการ

นำผลสอบ ไปใช้ทำอะไร?
ข้อสอบชุดนี้เหมาะสำหรับวัดระดับ ความสามารถทางภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา

ค่าสมัครสอบ
600 บาท

วิธีการสมัคร
ผู้สมัครต้องสมัครสอบผ่านโปรแกรมลงทะเบียนแบบOnlineทาง Internet เท่านั้น และหลังจากที่ผู้สมัครลงทะเบียนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว โปรแกรมจะสร้างใบลงทะเบียนให้ผู้สมัคร ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้สมัครใช้ในการลงทะเบียนต้องต่อเข้ากับเครื่องพรินเตอร์ให้พร้อม (สมัครที่ http://register.atc.chula.ac.th/ChulaATC/internet/index.jsp)

ปฎิทินการสอบ : http://www.atc.chula.ac.th/th_html/Schedule2011.pdf

Q : สรุปว่าวางแผนไว้ยังไงบ้าง

A : 22 พฤษภาคม 2554 เวลา : 15.00 น. งาน OPEN HOUSE ’11 Chulalongkorn Univ.
ช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม เตรียมสอบ CU-TEP
ช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือน เมษายน เตรียมสอบ
1. ตรรกะการพัฒนาโปรแกรม (Programming Logic)
2. การวิเคราะห์เชิงระบบ (System Analysis)
3. ฐานข้อมูล (Database)
4. โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)
ปลายมิถุนายน ถึง ปลายกรกฏาคม ยื่นใบสมัคร

 

Leave a comment