[IQ] เครื่องมือคุณภาพ : Quality Tools

[IQ] เครื่องมือคุณภาพ : Quality Tools

quality_tool.jpg

การวัดคุณภาพของข้อมูลนั้นมีหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งในที่นี้จะมีตัวอย่างของเครื่องมือในการวัดทั้ง 7 ไม่ว่าจะเป็น Pareto Principle, Flowchart, Scatter Plot,Check Sheet, Check List, Histogram, Statistical Process Control : SPC , Cause and Effect ( Fishbone,Ishikawa Diagram)

– หลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้มีการเปลี่ยนให้ “คุณภาพ” เป็น หลักการในการปรับปรุงและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งมีการใช้ Seven Tools เป็นเครื่องมือที่ญี่ปุ่นใช้ในเชิงสถิติเพื่อบริหารจัดการคุณภาพข้อมูล

  • Pareto Principle

– เป็นชาร์ตที่ช่วยในการตัดสินใจว่าอะไรที่เป็นปัญหา, หาสาเหตุ, จัดลำดับความสำคัญของปัญหา
– โดยพื้นฐานแล้วใช้ในการช่วยตัิดสินใจเมื่อต้องเลือกว่าจะแก้ไขปัญหาใด โดยควรเลือกปัญหาที่มีความสำคัญที่เมื่อแก้แล้วจะส่งเพิ่มคุณภาพเป็นอย่าง มาก
– มีลักษณะเป็นกราฟแท่ง โดยแกนตั้งแสดง %Reject หรือ เปอร์เซนต์ของปัญหาที่พบ และแกนนอนแสดง Reject Causes หรือสาเหตุของปัญหา

quality tool_pareto_2.jpg
– ที่มาของภาพประกอบ : http://www.brighthub.com

  • Flowchart

– เป็นชนิดของชาร์ตพื้นฐานที่เป็นตัวแทนในการแสดงอัลกอลิทึมหรือกระบวณต่างๆ โดยใช้กล่องหลายรูแบบแสดงแทนขั้นตอนต่างๆ และใช้เครื่องหมายลูกศรเป็นตัวเชื่อม
– ใช้ในการวิเคราะห์, ออกแบบ, ทำเอกสารประกอบ, จัดการกระบวณการหรือโปรแกรม
– ชนิดของ Flowchart
Document Flowchart : ใช้แสดง flow การทำงานของเอกสารที่ผ่านระบบ
Data Flowchart : ใช้แสดง flow การทำงานของข้อมูลที่ผ่านระบบ
System Flowchart : แสดงการควบคุมที่ระดับ physical หรือแหล่งที่มา
Program Flowchart : แสดงการควบคุมในโปรแกรมที่อยู่ในระบบ

quality_tool_Flowchart.jpg
– ที่มาของภาพประกอบ : http://www.edrawsoft.com

  • Scatter Plot

– มีชื่อเรียกได้หลายชื่อคือ scatter chart, scatter diagram and scatter graph.
– มีลักษณะเป็นกราฟที่มีจุดเป็นตัวแสดงเป็นเส้น
– ใช้ในการนิยามพื้นที่ของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวแปร
– ใช้ศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยผลของความสัมพันธ์บางครั้งยังไม่สามารถสรุปได้ เนื่องจากอาจจะมีตัวแปรอื่นมาเกี่ยวด้วย

quality_tool_scatter.jpg
– ที่มาของภาพประกอบ : http://blog.mulbrandon.com

  • Check Sheet

– มีลักษณะเป็นตารางแสดงรายละเอียดต่างๆ และให้ผู้ใช้ทำการบันทึกข้อมูลหรือข้อบกพร่องต่างๆ
– มักจะมีช่องให้ผู้ใช้ลงบันทึกได้เลย
– เครื่องมือง่าย ๆ ที่ใช้ในการชี้ประเด็นปัญหา

quality_tool_checksheet.jpg
– ที่มาของภาพประกอบ : http://syque.com

  • Check List

– รายการของการตรวจสอบประกอบด้วยรายการที่มีความสำคัญหรือความเกี่ยวข้องเฉพาะกับหัวเรื่องหรือสถานการณ์นั้น
– Check List ถูกใช้ภายใต้เงื่อนไขที่ทำให้เกิดความแน่ใจว่าขั้นตอนหรือการกระทำต่างได้ทำแล้ว
– ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลหรือความผิดปกติต่างๆ

quality_tool_Check_List.jpg
– ที่มาของภาพประกอบ : http://ddig.lboro.ac.uk/images/Self_Check_List.jpg

  • Histogram

– Histogram ช่วยให้เราสามารถมองเห็นรูปแบบที่มองเห็นได้ยากในตาราง
– สามารถวิเคราะห์เพื่อสร้างข้อสรุปเกี่ยวกับ data set
– แสดงความถี่ของตัวแปรที่ต้องการศึกษา ทำให้ทราบถึงการแจกแจงของสิ่งที่เราต้องการวิเคราะห์
– ประโยชน์ประการสำคัญของการใช้ฮีสโตแกรม คือการใช้เพื่อวิเคราะห์ความถี่ของข้อมูลแล้วตัดสินใจว่า การแจกแจงหรือการกระจายข้อมูลแบบใด เพื่อใช้ตรวจสอบคุณสมบัติของข้อมูล ตลอดจนการประมาณการลักษณะคุณภาพที่ได้จากการผลิต

quality_tool_Histogram.jpg

  • Statistical Process Control : SPC

– ช่วยดูกระบวณการทำงาน ว่าในกระบวณการเหล่านั้นมีข้อบกพร่องอะไรบ้าง หรือผลการทำงานเป็นยังไงบ้าง อยู่ในรูปของกราฟก็ได้
– Control Chart โดยจะมีเส้นบอกขอบเขตของระดับว่าต่ำหรือสูงเกินไปรึเปล่า ขอบเขตควบคุมบน (UCL) และขอบเขตล่าง (LCL)  ยิ่งใกล้เส้นเฉลี่ย (Center Line)ยิ่งดี
– Run Chart ใช้เมื่อแนวนอนเป็นเวลา
– Tracking Improvement : เมื่อกระบวณการมีค่าสูงหรือต่ำเกินไปให้ทำการปรับปรุงข้อผิดพลาด, ลดขอบเขตของขีดจำกัดให้ลดลง, เมื่อกระบวณการเริ่มคงที่ให้เพิ่มตัวแปรที่พิจารณาขึ้นอยู่กับว่าต้องการดู เรื่องอะไร

– Process Varizbility

– สาเหตุจากธรรมชาติ : ต้อง monitor เช่น อุณหภูมิ, วัตถุดิบ : ที่ส่งเข้ามาคุณภาพไม่คงที่, ความแตกต่างของลูกค้า
– Special cause : มีการเตือน เช่น เครื่องจักรเสีย

– SPC benefit

– เน้นdetect และการป้องกันก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น
– ช่วยลดค่าใช้จ่าย, waste ต่างๆ
– ช่วยลดเวลา เนื่องจากว่าถ้าเจอปัญหาเร็วก็ไม่ต้องมาทำงานซ้ำใหม่ทั้งหมด
– ช่วยทำให้ทราบถึงปัญหาต่างๆ ของกระบวณการผลิต เช่นการ delay เนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
– มีการควบคุมการผลิตตลอดสร้างความพึงพอใช้กับลูกค้า
  • Cause and Effect, Fishbone, Ishikawa Diagram

– Ishikawa diagrams ซึ่งเป็นชื่อของศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่น หลังจากที่เขาพัฒนาวิธีการช่วยเหลือคนงานเพื่อที่จะหาแหล่งที่เป็นไปได้ของ ปัญหา เพื่อทำให้การแก้ปัญหา
– เครื่องมือนี้ช่วยจัดโครงสร้างของการพยายามในการแก้ไขปัญหาโดยการจำแนกกลุ่ม ของปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหา เครื่องมือนี้ใช้ร่วมกับการระดมสมอง เพื่อที่จะจัดโครงสร้างในการสร้างความคิด
– คล้ายก้างปลา
– ตรงกลางคือสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา
– ในก้างก็มีสาเหตุย่อยลงไปได้อีก
– ช่วยให้เราสามารถมองเห็นโครงสร้างของปัญหาคืออะไร
-ในการผลิตปัญหามีสาเหตมาจาก : วัตถุดิบ เครื่องจักร วิธีกา่รทำงาน สภาพแวดล้อม คน

quality_tool_fishbone.jpg
– ที่มาของภาพประกอบ : http://coen.boisestate.edu

  • Quality Function Deployment

– house of quality
– มีเรื่องของ customer requirement, technical requirement
– ดูว่าลูกค้ากับ technical ต้องการอะไรแล้วนำมาพิจารณาร่วมกัน
– วิธีการสร้างบ้าง
1. ดูความต้องการของลูกค้า : ต้องทำการ survey ให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
2. Planing Matrix วางแผน : ดูว่าความต้องการของลุกค้าที่ได้ มาให้น้ำหนักว่าแต่ละข้ออะไรมีน้ำหนักมากกว่ากัน สำคัญมากที่เราต้องนำมาพิจารณา โดยอาจจะใช้แบบสอบถามกับผู้เกี่ยวข้อง ที่ต้องใช้เทคนิคต่างๆถามเนื่องจากอาจจะมีความเห็นไม่ตรงกัน
3. ดูความต้องการของนักเทคนิค : โดยอาจจะมาจากทีมงานมากำหนด
4. ดูความสัมพันธ์กัน : design team จะเป็นคนกำหนดความสัมพันธ์
5. หลังคา : ต้องเป็นทีมงานเข้ามาระบุของ technical requirement โดยใช้เป็นค่าบวกลบ ว่าถ้าปรับปรุงตัวนี้จะให้ค่าบวกหรือค่าลบ
6. เป้าหมาย : เป้าหมายอาจจะเทียบกับสินค้าค่ายอื่นก็ได้ แล้วดูว่าเป้าหมายของเราอยุ่แค่ไหน โดยดูจากข้อมูลที่อยู่ตรงกลางกับ น้ำหนักของความต้องการของลูกค้า

quality_tool_house_of_quality.jpg
– ที่มาของภาพประกอบ : http://www.ami.ac.uk

  • เพิ่มเติม

http://e-learning.mfu.ac.th/mflu/1301312/IM/chapter2_8.htm

เครื่องมือวัดคุณภาพ

Leave a comment