CCNA2 : Chapter 3 Intro to Dynamic Routing Protocols

CCNA2 : CCNA Exploration Routing Protocols and Concepts – 4.0

Chaper 3 : Introduction to Dynamic Routing Protocols

•    Introduction and Advantage

–    Purpose of Dynamic Routing Protocols : ค้นหา remote network, จัดการ up-to-date ข้อมูลของเส้นทาง, เลือกเส้นทางที่ดีที่สุดที่ไปยัง destination network, สามารถหาเส้นทางใหม่แทนที่เส้นทางที่ใช้ไม่ได้แล้ว
–    Dynamic Routing Protocol Operation

1.    Router รับและส่งข้อมูลของเส้นทางผ่าน interface ของมัน
2.    Router มีการ share ข้อมูลของเส้นทางและmessage กับrouter อื่น ที่ใช้ routing protocol เดียวกัน
3.    Router แลกเปลี่ยน ข้อมูลของเส้นทางในการเรียนรู้เกี่ยวกับ remote networks
4.    เมื่อ router รับรู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลง topology แล้ว routing protocol สามารถที่จะกระจายข่าวไปยัง router อื่นได้

–    Static Routing

ข้อดี : ใช้ CPU น้อย, ง่ายต่อ administrator ในการเข้าใจ, ตั้งค่าง่าย
ข้อเสีย : เมื่อมีการเพิ่ม router เข้าไป จะต้องมานั่ง config ทุก ๆ router ใหม่ ทำให้เกิดความล่าช้า หรือ เสียเวลามาก, จะต้องมีความเข้าใจระบบเครือข่ายโดนรวม และเข้าใจถึงการเชื่อมต่อของ router ทุกตัวบนทุก  ๆ  interface

–    Dynamic Routing

ข้อดี : admin ไม่ต้องจัดการมากเมื่อมีการเพิ่มหรือลบ network, Protocol มีการตอบสนองอัตโนมัติเมื่อ topology เปลี่ยน, สามารถขยายnetwork ได้ง่าย
ข้อเสีย : ใช้ resources เยอะ (CPU cycles, memory and link bandwidth)

•    Classifying Dynamic Routing Protocols

–    Classification

1. link-state interior routing protocol : OSPF,IS-IS
2. Distance vector interior routing protocol : RIP, IGRP, EIGRP
3. Exterior routing protocol : BGP

–    Autonomous system (AS) หรือที่รู้จักกันดีในนามของ routing domain เป็นกลุ่มของ router ที่อยู่ภายใต้ common administration เช่น company’s internal network และ Internet service provider’s network
–    ในอินเตอร์เนตมีการใช้ autonomous system concept ซึ่งใช้ routing protocols 2 ชนิดคือ

1.    Interior Gateway Protocols (IGP)  :  ใช้ภายใน Autonomous system
2.    Exterior Gateway Protocols (EGP) : ใช้ระหว่าง Autonomous system

–    Distance vector routing protocols

ลักษณะ : ในแต่ละ Router จะมีข้อมูล routing table เอาไว้พิจารณาเส้นทางการส่งข้อมูล โดยพิจารณาจากระยะทางที่ข้อมูลจะไปถึงปลายทางเป็นหลัก
การใช้งาน : network มีขนาดเล็ก, ไม่ convergence

–    Link-state routing protocols

ลักษณะ : Router จะ Broadcast ข้อมูลการเชื่อมต่อของเครือข่ายตนเองไปให้ Router อื่นๆทราบ
การใช้งาน : การออกแบบ network เป็น hierarchical, ใช้ในองค์กรใหญ่, fast convergence

–    Classful Routing Protocols : ไม่ส่ง subnet mask ไปเมื่อ routing มีการอัพเดต,  ไม่สนับสนุน variable length subnet masks (VLSM) เช่น RIPv1 and IGRP.
–    Classless Routing Protocols : ส่ง subnet mask ไปเมื่อ routing มีการอัพเดต เช่น RIPv2, EIGRP, OSPF, IS-IS, BGP.

•    Metrics

–    Metric เป็นค่าที่ถูกใช้ใน routing protocol ในการกำหนด costs ที่ไปถึง remote network ซึ่งใช้ในการตัดสินใจเลือกเส้นทาง
–    Metric ที่ใช้ใน IP routing protocol : hop count, bandwidth, load, delay, reliability, cost
–    RIP ใช้ hop count, IGRP และ EIGRP ใช้ bandwidth, reliability, load และ delay, OSPF และ IS-IS ใช้ cost .
–    ใช้คำสั่ง ip route ในการดู เช่น R 192.168.8.0/24 [120/2] via 192.168.4.1, 00:00:26, Serial0/0/1 คือมี 2 hop
–    Load balancing เกิดขึ้นเมื่อมี router สองตัวหรือมากกว่าที่เกี่ยวข้องกันโดยมีปลายทางเดียวกัน

•    Administrative Distance

–    Administrative distance (AD)เป็นค่าประจำตัวของ routing protocol โดย Protocol เลือกเส้นทางจะใช้ค่า AD นี้ เพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด และจะถือว่าเส้นทางใดที่มีค่า AD ที่น้อยที่สุด router จะเลือกเส้นทางนั่น มีค่าตั้งแต่ 0-255
–    ใช้คำสั่ง ip route ในการดู เช่น D 192.168.6.0/24 [90/2172416] via 192.168.2.1, 00:00:24, Serial0/0/0 โดยค่า AD จะเท่ากับ 90
–    คำสั่ง show ip protocols จะแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของ routing protocols โดยค่า distance ที่แสดงจะเป็นค่า AD
–    static route จะใช้  next-hop IP address ไม่ก็ exit interface ซึ่งมีค่า default AD เป็น 1
–    Directly connected networks จะแสดงใน routing table เมื่อมีการตั้งค่า IP address ของ Interface โดยค่า AD จะเป็น 0

Leave a comment