เหตุผลที่ทำไมถึงไม่มี IPv5

หลัีงจากที่ได้รับคำถามจากอาจารย์อนันต์ในวิชา Network ในเรื่อง ของ IP Address ในเรื่องของ เหตุผลที่ทำไมถึงไม่มี IPv5 ก็เลยมานั่งหาความรู้เพิ่มเติมแล้วเลยอยากจะมาแบ่งปันด้วยอะคะ

bot2.gif IP คืออะไร

หมายเลขไอพี หรือ ไอพีแอดเดรส (Internet Protocol Address) คือหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอล Internet Protocol คล้ายกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเราท์เตอร์ เครื่องแฟกซ์ จะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสอง จำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบเลขฐานสิบ จึงมักแสดงผลโดยการใช้เลขฐานสิบ จำนวน 4 ชุด ซึ่งแสดงถึงหมายเลขเฉพาะของเครื่องนั้น สำหรับการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน แวนหรือ อินเทอร์เน็ต โดยหมายเลขไอพีมีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับคือใคร และผู้รับสามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งคือใคร

ตัวอย่างของหมายเลขไอพี ได้แก่ 207.142.131.236 ซึ่งเมื่อแปลงกลับมาในรูปแบบที่อ่านได้จะเรียกว่า โดเมนแอดเดรส ผ่านทาง โดเมนเนมซีสเทม (Domain Name System) ซึ่งหมายเลขนั้นหมายถึง www.wikipedia.org
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/

bot2.gifIPv4 แล้วทำไมถึงเป็น IPv6 ทำไมไม่เป็น IPv5 ?

4 บิทแรกของ IP header จะถูกกันไว้เป็นตัวบอกเวอร์ชั่นของ IP ดังนั้นเวอร์ชั่นของ IP ที่จะเป็นได้คือ 0 – 15

  • 4 ถูกนำมาใช้แล้ว สำหรับ IPv4 ในปัจจุบัน
  • 5 สำรองไว้ใช้สำหรับ Stream Protocol (STP, RFC 1819 / Internet Stream Protocol Version 2) ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ยังไม่ได้นำมาใช้งาน
  • ดังนั้นเลขที่เหลือตัวต่อไปก็คือ 6 ด้วยเหตุนี้ จึงเป็น IPv6

ที่มา : http://ict.pangmapha.com

bot2.gifข้อมูลเพิ่มเติมของ IPv4 และ IPv6

หมายเลข IP address ที่เราใช้กันทุกวันนี้ คือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโต อย่างรวดเร็ว นักวิจัยเริ่มพบว่าจำนวนหมายเลข IP address ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคต และหากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครื่อข่ายเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นคณะทำงาน IETF (The Internet Engineering Task Force) ซึ่งตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก(Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี
ที่มา : http://www.ipv6.nectec.or.th/faq.php

bot2.gifข้อมูลแตกต่างของ IPv4 และ IPv6

IpV4 จะเป็น 255.255.255.255 หรือ FF.FF.FF.FF ซึ่งเป็น 32 bit
IpV6 จะเป็น FFFF:FFFF:FFFF:FFFF:FFFF:FFFF:FFFF:FFFF:ซึ่งเป็น 128 Bit

หากพิจารณาเฮดเดอร์ของ IPV 6 เทียบกับของ IPV 4 จะสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างได้ดังนี้
1 ตำแหน่งที่ตัดออก

– Header length ถูกตัดออกไป เพราะเฮดเดอร์ของ IPV 6 มีขนาดควที่ที่ 40 octets(bytes) ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของการประมวลผลแพ็กเก็ตดีขึ้นเพราะไม่เสียเวลาในการ คำนวณขนาดของ header
– Identifiaction, Flag, Segmentation, Protocal, Options, และ Padding ถูกย้ายไปอยู่ในส่วนขยายของเฮ็ดเดอร์ เพราะถือว่าเป็นส่วยไม่จำเป็นต้องประมวลผลในทุกๆเราเตอร์
– Header Checksum ถูกตัดออกเพราะว่าซ้ำซ้อนกับฟังก็ชันของโพรโตคอลในชั้นที่อยู่สูงกว่า อีกทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผลด้วย เพราะ Checksum จะต้องมีการคำนวณใหม่ที่เราเตอร์เสมอ หากตัดออกก็จะลดภาระงานที่เราเตอร์ไปได้

2 ตำแหน่งทีปรับเปลี่ยน

– Total Length เปลี่ยนมาเป็น Payload length เพื่อระบุขนาดของ payload ในหน่วย octets(bytes) ดังนั้นขนาดของ payload สูงสุดเป็น 65,535 octets
– Time-To-Live (TTL)ของ IPV4 เปลี่ยนมาเป็น Hop Limit เพราะTTL ระบุเวลาที่ packet จะวนเวียนอยู่ใน อินเทอร์เน็ต (หน่วยเป็นวินาที) โดยระบุว่าแต่ละเราเตอร์ต้องลด TTL ลงอย่างน้อย 1 วินาที เราเตอร์จึงลด TTL ครั้งละ 1 หน่ววยเสมอแม้ว่าจะใช้เวลาประมวลผลแพ็กเก็ตน้อยกว่านั้น ทำให้ไม่ตรงกับความหมายของ TTL ดั้งนั้นจึงถูกเปลี่ยนเป็น Hop limit เพื่อให้ตรงกับความหมายจริงๆซึ่งเหมาะสมและง่ายต่อการประมวลผล
– Protocal เปลี่ยนมาเป็น Next Header ซึ่งใช้เป็นตัวบอกว่า extended header ตัวถัดไปเป็นเฮดเดอร์ประเภทไหน เช่น IPSec ซี่งเป็น extended header ก็จะมีค่า Next Header = 51

3 ตำแหน่งที่เพิ่ม

– Flow label ใช้ระบุลักษณะการไหลเวียนของทราฟฟิก ระหว่างต้นทางกับปลายทาง เช่น ในแอปพลิเคชัน video conference มีทราฟฟิกหลายลักษณะ (เช่น ภาพ เสียง ตัวอักษร ฯลฯ)ในแอปพลิเคชั่นหนึ่งจะสร้าง flow label ได้หลายลักษณะและสามารถแยก flow ของภาพและเสียงออกจากกันได้
– Traffic Class ใช้ระบุว่าแพ็กเก็ตนี้อยู่ในกลุ่มใดและมีระดับความสำคัญเท่าไหร่เพื่อที่เรา เตอร์จะจัดลำดับขั้นการส่งแพ็กเก็ตให้เหมาะสม

ที่มา : http://forums.overclockzone.com

bot2.gifโดนใจอยากให้อ่าน

รู้จักเทคโนโลยี IPv6 ว่าเป็นแบบไหน ทำอย่างอย่างไร
ถอดรหัสทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ IPv6
การเตรียมความพร้อมในการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตยุคหน้า
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ IPv6 สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
สารพันคำถามเกี่ยวกับ IPv6

Leave a comment